ผลของพลังงานอินฟราเรดและเวลาที่ใช้ในการอบต่อคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัส ของถั่วแมคคาเดเมียอบ

ผู้แต่ง

  • แดนชัย เครื่องเงิน ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • อัษฏา เห็มสุวรรณ
  • วิษณุ บัวเทศ
  • ศิริลดา ศรีกอก

คำสำคัญ:

แมคคาเดเมีย, อินฟราเรด, การหืน

บทคัดย่อ

        แมคคาเดเมียเป็นพืชชนิดถั่วมีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ไม่มีคลอเรสเตอรอลจึงช่วยลดไขมันในเลือดได้ดี นอกจากบริโภคแล้วยังสามารถสกัดเป็นน้ำมันที่ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื่นและความลื่นแก่ผิว การแปรรูปแมคคาเดเมียจะให้การทำแห้งเพื่อลดความชื้นทั้งเปลือกก่อนหลังจากนั้นจะกะเทาะเปลือกออกแล้วนำเมล็ดมาแปรรูปโดยการคั่ว การทอด หรือการอบ ปัญหาที่สำคัญของผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียคือการหืนและการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพลดลงจนไม่สามารถบริโภคได้ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงอินฟราเรดซึ่งเป็นการให้ความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เวลาสั้น คงคุณค่าทางโภชนาการและต้นทุนการใช้พลังงานต่อหน่วยต่ำในการอบเมล็ดแมคคาเดเมีย โดยพัฒนาให้เป็นเครื่องอินฟราเรดแบบสายพานอัตโนมัติทำให้การใช้งานสะดวกและผลิตได้มากขึ้น การศึกษานี้จะทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสม คือพลังงานอินฟราเรดที่ 6,000 7,200 และ 8,000 วัตต์ และเวลาในการอบที่ 5 6 และ 7 นาที ในการอบเมล็ดแมคคาเดเมีย พบว่า ที่พลังงานอินฟราเรด 7,200 วัตต์ เป็นเวลา 6 นาที มีความชื นร้อยละ 1.78 ค่า aw เท่ากับ 0.35 ค่าสี L* เท่ากับ 77.00 a* เท่ากับ 1.46 b* เท่ากับ 21.40 ค่าความเป็นกรด 2.99 มิลลิกรัมของ KOH ต่อกรัมของเมล็ดแมคคาเดเมีย และการทดสอบทางประสาทสัมผัสได้รับคะแนนความชอบลักษณะปรากฏ กลิ่น รสชาติ และความชอบรวมสูงสุด และจากการคำนวณต้นทุนทางด้านพลังงานของการผลิตการอบเมล็ดแมคคาเดเมียด้วยเครื่องอบอินฟราเรดแบบสายพาน พบว่าจะมีต้นทุนการผลิตจากค่าไฟฟ้า 0.85 บาทต่อกิโลกรัมต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน

References

กุลชา สิ่วสงวน. (2558). การประยุกต์ใช้เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ในการวิเคราะห์กลิ่นหืนของแมคคาเดเมียอบแห้ง. ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Buthelezi, N.M.D., Tesfay, S.Z. & Magwaza, L.S.(2021). Influence of roasting on antioxidants, fatty acids, sensory properties and oxidative stability of macadamia nuts. Scientia Horticulturae, 278, 109850.

Irakli, M., Kleisiaris, F., Mygdalia, A. & Katsantonis, D. (2018). Stabilization of rice bran and its effect on bioactive compounds content, antioxidant activity, and storage stability during infrared radiation heating. Journal of Cereal Science 80, 135-142.

Kathiravan, K., Kaur, K.H., Jun, S., Joseph, I. & Ali, D. (2007). Infrared heating in food process: an overview. Comprehensive Review in Food Science and Food Safety 7, 2-13.

Sakai, N., & Mao, W. (2006). Infrared Heating. In Da-Wen and Sun (Eds.), Thermal food processing. USA: Taylor and Francis Group.

} Yan, W., Liu, Q., Wang, Y., Tao, T., Liu, B., Liu, J., & Ding, C. (2020). Inhibition of Lipid and Aroma Deterioration in Rice Bran by Infrared Heating. Food and Bioprocess Technology, 13, 1677–1687.. Retrieved from https:doi.org/10.1007/s11947/-020-02503-2.

Yılmaz, N. (2016). Middle infrared stabilization of individual rice bran milling fractions. Food Chemistry 190, 179–185.

AOAC (2012). Association of Official Analytical Chemists. Official Methods of Analysis (19th ed.) Washington DC, USA.

AOAC. (1999). Association of Official Analytical Chemists.Official method of analysis (16th ed.). Washington, DC, USA.

AOCS (2004). American Oil Chemists’ Society. Official methods and recommended practices of the American Oil Chemists’ Society Champaign, USA

ข้อมูลและข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ. (2559 มิถุนายน 29). การคำนวณค่าไฟฟ้า. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.solarhub.co.th/solar-information/solar-provision/354-electrical-estimate

Pankaew, P., Janjai, S., Nilnont, W., Phusapao, C. & Bala, B.K. (2016). Moisture desorption isotherm, diffusivity and finite element simulation of drying of macadamia nut (Macadamia integrifolia). Food and Bioproducts Processing, 100, 16–24.

Wall, M.M. & Gentry, T.S. (2007). Carbohydrate composition and color development during drying and roasting of macadamia nuts (Macadamia integrifolia). LWT, 40, 587–593.

Wu, B., Pan, Z., Qu, W.,Wang, J. and Ma, H. (2014). Effect of simultaneous infrared dry-blanching and dehydration on quality characteristics of carrot slices. Food Science and Technology, 57, 90-98.

Zhu, Y. and Pan, Z. (2009). Processing and quality characteristics of apple slices under simultaneous infrared dry-blanching and dehydration with continuous heating. Journal of Food Engineering, 90, 441–452.

Codex Alimentarius. (2001). CODEX STANDARD FOR NAMED VEGETABLE OILS CX-STAN 210 – 1999. Volume 8.

Ding, C., Khir, R., Pan, Z., & Zhao, L. (2015). Improvement in Shelf Life of Rough and Brown Rice Using Infrared Radiation Heating. Food and Bioprocess Technology 8:1149-1159.

Shaker, M.A., Amany, M.B., Mahmoud, A.M.A. (2013). Production of low acidity rice bran oil by heating process. Journal of Food Science and Technology, 1, 13–18.

Dhingra, D. and Chopra, S. (2014). Ohmic heating system for stabilization of rice bran. Agricultural Engineering Today, 38, 1–6.

แผนผังกระบวนการอบเมล็ดแมคคาเดเมียด้วยเครื่องอบอินฟราเรดแบบสายพาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-09-2022