วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีเพื่อหาอัตลักษณ์ของโกโก้ในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
โกโก้, องค์ประกอบของโกโก้, องค์ความรู้บทคัดย่อ
การศึกษาข้อมูลองค์ความรู้การผลิตเพื่อหาอัตลักษณ์ของโกโก้ในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการปลูกโกโก้ในจังหวัดเชียงราย สำหรับการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกโกโก้ของจังหวัดเชียงราย พบว่าปัจจัยด้านศักยภาพของดินมีค่าน้ำหนักมากที่สุด ซึ่งจากผลการวิเคราะห์คุณภาพดินของแหล่งปลูกโกโก้จากสวนตัวอย่าง ลักษณะทางกายภาพของดินเป็นดินร่วนสีน้ำตาลเข้ม ดินค่อนข้างแห้ง ค่า pH อยู่ในช่วงเหมาะสมต่อการเพาะปลูกโกโก้ ปริมาณสารอินทรีย์วัตถุของสวนโกโก้มีค่าค่อนข้างต่ำ ดังนั้นควรมีการบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ ผลการตรวจหาจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์ และรา ในโกโก้ตามขั้นตอนการแปรรูปใน เมล็ดโกโก้ดิบ เมล็ดโกโก้หลังหมัก เมล็ดโกโก้หลังคั่ว และผงโกโก้ พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และไม่มีการปนเปื้อนของ Escherichia coli ในทุกตัวอย่างที่นำมาทดสอบ รวมถึงไม่พบสารพิษโอคราท็อกซิน เอ ในตัวอย่าง สำหรับองค์ประกอบทางด้านเคมี
พบว่า มีค่า pH อยู่ในช่วงของกรดอ่อนถึงกลาง (pH 5.22 – 7.19) แต่ถือว่าเป็นเมล็ดโก้โก้ที่มีค่า pH สูงที่อาจเกิดจากกระบวนการหมักที่นานเกินไปทำให้กลิ่น-รส ผิดปกติ มีการผลิตกรดไขมันที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ คือ lauric (C-12), oleic (C-16) และ palmitic (C-18) นอกจากนี้พบว่าปริมาณกรดอินทรีย์ที่ส่งผลต่อกลิ่น-รส คือกรดซิกตริกและอะซิติกสอดคล้องกับปริมาณที่พบในสารอินทรีย์ระเหยได้ และปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่พบในเมล็ดโกโก้คั่วนั้นมีปริมาณมากที่สุดเนื่องจากผ่านกระบวนการหมักและคั่วแต่ยังไม่มีการบีบโกโก้บัตเตอร์ออก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอะมิโนโปรไฟล์และสารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ พบว่าปริมาณของแอสปาร์ติกและกรดอะมิโนชนิดอื่นๆ ทำให้เกิดสารประกอบแอลดีไฮด์เพิ่มขึ้นในผงโกโก้ ส่งผลให้มีกลิ่น-รสของช็อกโกแลตเพิ่มขึ้นในผงโกโก้มากกว่าในโกโก้ดิบ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในสวนตัวอย่าง 1 ซึ่งเป็นการปลูกพืชโกโก้ร่วมกับการปลูกพืชอื่น ๆ ได้แก่ ลูกหม่อน เชอรี่ ข้าวดอย กระเจี้ยบ บ๊วย และมีการเพาะเลี้ยงผึ้งเพื่อเก็บน้ำผึ้ง จะทำให้ได้โกโก้ที่มีรสชาติหรือกลิ่นหอมของดอกไม้ (Floral) และน้ำผึ้ง (Honey) ผสมกับความเปรี้ยวของผลไม้อยู่ด้วย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลิ่นและรสชาติช็อกโกแลต หรือโกโก้ของสวนตัวอย่าง 1
References
สัณห์ ละอองศรี. (2558, 8 สิงหาคม). พันธุ์โกโก้ในประเทศไทย. https://www.cocoathailandcenter.com/
ไทยพีบีเอส. (2561, 23 เมษายน). วิเคราะห์ “โกโก้” พืชเศรษฐกิจใหม่ ร่วงหรือรอด?. https://news.thaipbs.or.th/content/276088?sfns=1
เชียงใหม่นิวส์. (2561, 8 สิงหาคม). ส่งเสริมเกษตรกรปลูกโกโก้ พืชทางเลือกลดเผาป่าภาคเหนือ.https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/719132/
ศุภางค์ จำเนียรกุล. (2558). การพัฒนาสารสกัดเปลือกโกโก้เพื่อใช้ในทางเครื่องสำอาง. ภาควิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
Anon. (1984). Cocoa Bean (3rd ed.). London. Haines Clark Co.ltd.
V. Barisic, M. Kopjar, A. Jozinovic, I. Flanjak, B. Milicevic, D. Subaric, S. Jokic, J. Babic, D. Ackar, (2019). The chemistry behind Chocolate production. Molecules, 24, 3163.
SoilGrids - global gridded soil information. (2563, 9 สิงหาคม) https://soilgrids.org/
คู่มือการปฏิบัติงาน. (2533). กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี (แก้ไขครั้งที่ 01). กรมพัฒนาที่ดิน.
AOAC (1990). Official Method of Analysis of the Association of Analytical Chemists (15thed.). Association of Official Chemists, U.S.A. p1214.
AOAC (2000). Official methods of analysis, Association of Official Analytical Chemists. Washington DC.
Afoakwa, E.O. (2010). Chocolate Science and Technology. Wiley-Blackwell, Chichester, U.K., 58e71.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2558). วิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์อาหาร เล่มที่ 3 (Standard Methods for Food Analysis, Volume III) (พิมพ์ครั้งที่ 1).
V. Tournas, M. E. Stack, P. B. Mislivec, H.A. K. R. Bandler (2001). Bacteriological Analytical Manual, (8th Ed.). Revision A, Chapter 18. FDA.
X.W. Qin, J.X. Lai, L.H.Tan, C.Y.Hao, F.P.Li, S.Z. He, Y.H. Song, (2017). Characterization of volatile compounds in Criollo, Forastero, and Trinitario cocoa seeds (Theobroma cacao L.) in China. International Journal of Food Properties, 20 (10), 2261-2275.
M. Padavatan, S. K. Berry, (1979). Amino acid and fatty acid profile of Malaysian cocoa beans during processing. Procceeding of Malaysian Biochemistry Society Conference (5), 137-147.
N. Nael, F.S. Papilaya, (2019). Spatial Analysis of the Land Suitability for Cocoa Plantations in East Dusun District. Journal of Applied Geospatial Information (3), 228-234.
W. Niether, A. Glawe, K. Pfohl, N. Adamtey, M. Schneider, K. Petr, E. Pawelzik, (2020). The effect of short-term vs. long-term soil moisture stress on the physiological response of three cocoa (Theobroma cacao L.) cultivars. Plant Growth Regulation (92), 295-306.
Umaharan, P. (2018). Achieving sustainable cultivation of cocoa (1st ed). London: Burleigh Dodds Science Publishing.
S. Jinap, P.S. Dimick, (1990). Acidic characteristics of fermented and dried cocoa bean from different counties of origin. Journal of Food Science (55), 547-550.
S. Jinap, P. S. Dimick, R. Hollender, (1995). Flavour evaluation of chocolate formulated from cocoa beans from different countries. Food Control (6), 105-110.
A. Lopez, V. C. Quesnel, (1973). Volatile fatty acid production in cocoa fermentation and the effect on chocolate flavor. Journal of Science Agriculture (24), 319-326.
Niimoto, H., Tanitsu, K. (1974). The Quality Assessment of cocoa bean produced in Nigeria, Sabah and Papua New Guiinca. Mneiji Seika Kaishe, Ltd., Tokyo. p121.
Quesnel, V.C. (1972). Cocoa curing in retrospect and proapect (4th). International Cocoa Confonference, St. Augustine, Trinidad.616 p.
อรพิน ภูมิภมร, จันทนา จินดา, บุญให้ แหลมเพชร และ ปิยนุช นาคะ. (2540). การหมักโกโก้ IV : การ ประเมินคุณภาพทางเคมีและประสาทสัมผัสของโกโก้หมักด้วยกล้าเชื้อผสม. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์(31), 419-428.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.1137-2550). โกโก้ผงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม
กลุ่มงานวิจัยพืชอุตสาหกรรม. (2563). กลุ่มวิชาการ. สถาบันวิจัยพืชสวน. สถานการณ์การผลิตโกโก้
A. C. Aprotosoaie, (2016). Flavor Chemistry of Cocoa and Cocoa products. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety (15), 73-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย