การพัฒนาผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ข้าวหอมมะลิเสริมผงเปลือกกาแฟ

ผู้แต่ง

  • นุกุล อินทกูล ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • ธัญญา มูลตัน
  • ปัญญาพร ศิริแสน
  • ชิษณุพงค์ บรรจง

คำสำคัญ:

แครกเกอร์ข้าว, ผงเปลือกกาแฟ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, อาหารปราศจากกลูเตน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของผงเปลือกกาแฟ และศึกษาปริมาณผงเปลือกกาแฟที่เหมาะสมในแครกเกอร์ข้าวหอมมะลิ ผลการศึกษา พบว่า ผงเปลือกกาแฟ มีความชื้น 8.16 (% by wt.) ค่า aw 0.48  มีปริมาณเส้นใยหยาบ โปรตีน เถ้าทั้งหมด และไขมัน เท่ากับ 30.85, 13.67, 10.01 และ 2.75 (% by wt.) ตามลำดับ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 12.54 (mg. GAE/g.) และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 74.14 (% DPPH inhibition) การใช้ผงเปลือกกาแฟทดแทนแป้งผสมทั้งหมดในปริมาณ 4, 6 และ 8 (% by wt.) ส่งผลให้ปริมาณความชื้น เส้นใยหยาบ เถ้าทั้งหมด โปรตีน สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในแครกเกอร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าคะแนนความชอบสี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัส ลดลงแตกต่างจากแครกเกอร์สูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แครกเกอร์ข้าวหอมมะลิเสริมผงเปลือกกาแฟในปริมาณ 6 (% by wt.) มีค่าคะแนนการยอมรับโดยรวม เท่ากับ 7.15 อยู่ในระดับชอบปานกลาง  จึงคัดเลือกเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ข้าวหอมมะลิเสริมผงเปลือกกาแฟ โดยมีปริมาณความชื้น เส้นใยหยาบ เถ้าทั้งหมด และโปรตีน เท่ากับ 2.82, 16.76, 3.28 และ 7.46 (% by wt.) สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด 1.73 (mg. GAE/g.) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 63.94 (% DPPH inhibition) ผงเปลือกกาแฟจึงเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเพิ่มคุณค่าโภชนาการ และสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์อาหารได้

References

Blinová, L., Sirotiak, M., Bartošová, A. & Soldán, M. (2017). Review: Utilization of Waste From Coffee Production. Research Papers Faculty of Materials Science and Technology Slovak University of Technology, 25(40), 91-101. https://doi.org/10.1515/rput-2017-0011.

วิภา สุโรจนะเมธากุล. (2556). โรคแพกลูเตนและความสำคัญของอาหารปราศจากกลูเตน. อาหาร, 43 (3), 16-21.

Irakli, M., Katsantonis, D. & Kleisiaris, F. (2015). Evaluation of quality attributes, nutraceutical components and antioxidant potential of wheat bread substituted with rice bran. J. of Cereal Science, (65), 74-84.

Wanyo, P., Meeso, N. & Siriamornpun, S. (2014). Effect of different treatment on the antioxidant properties and phenolic compounds of rice bran and rice husk. Food Chemistry, (157), 457-463.

Esquivel, P. and Jimenez, M. V. (2012). Functional properties of coffee and coffee by product. Food Research International, 46, 488-495.

ชุติมณฑน์ พลอยประดับ, พุทธพร เจียมศุภกิตต์ และ นิรมล ปัญญ์บุศยกุล. (2553). ฤทธิ์การต้านออกซิเดชั่นของส่วนต่างๆ ของผลกาแฟอาราบิก้า และกากกาแฟ. ว.วิทย์. กษ., 41(3/1) (พิเศษ), 577-580.

สถาบันโภชนาการมหิดล. (2563, 25 พฤศจิกายน). องค์ประกอบทางโภชนาการแป้งข้าวกล้อง. https://inmu2-.mahidol.ac.th/thaifcd/home.php.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2555). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ขนมปังกรอบ มผช. 523/2555

สายใจ ปอสูงเนิน และ ธีระ ธรรมวงศา. (2561). องค์ประกอบทางเคมีบางประการ และคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของข้าวพื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา. ว.วิทยาศาสตร์บูรพา, 23(2), 971-984.

Moreno, J., Cozzano, S., Perez, A. M., Arcial, P. and Curutchet, A. (2019). Coffee Pulp Waste as a Functional Ingredient: Effect on Salty Cookies Quality. J. of Food and Nutrition Research, 7(9), 632-638.

แครกเกอร์ข้าวหอมมะลิเสริมผงเปลือกกาแฟ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2023