การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาการวัดปริมาตร โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ ชะนู
  • ปิยดา โพธิ์ศรี ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • รุ่งอรุณ พยอมหอม
  • วราภรณ์ สุ่มมาตย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, รายวิชาคณิตศาสตร์, กลวิธี STAR

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการวัดปริมาตร สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ระหว่างก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน และแบบทดสอบเรื่องโจทย์ปัญหาการวัดปริมาตร โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการวัดปริมาตร
หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับกลวิธี STAR สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับกลวิธี STAR โดยมีคะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 11.98 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น 3.62 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 22.63% และมีค่า t-test ที่เป็นไป
ตามเกณฑ์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.98 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.96

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธนะชาติ ถนอมกุลบุตร. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “การแปรผกผัน” โดย

การใช้กลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นัฎกัญญา เจริญเกียรติบวร. (2547). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. สารนิพนธ์ กศ.ม.

(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นุตริยา จิตตารมย์. (2548). ผลของการสอนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประจบ แสงสีบับ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและการแปรผันที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนคริน

ทรวิโรฒ.

ปาจรีย์ เยาดำ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว” โดยการใช้กลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนคณิตศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.

เมธิญา กาญจนรัตน์. (2552). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAR (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

แสดงคะแนนจากการทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024