แนวทางในการลดปัญหาทางการยศาสตร์ กรณีศึกษาโรงงานปุ๋ยเคมีในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชลทิชา ใจบรรทัด สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จเร เลิศสุดวิชัย สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี, การยกย้าย, การยศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ปัญหาทางการยศาสตร์และหาแนวทางการลดปัญหาด้านการยศาสตร์ของแรงงานในขั้นตอนการบรรจุและจัดจำหน่ายของโรงงานปุ๋ยเคมีแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เนื่องจากมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงที่สุดและจากการสำรวจท่าทางการทำงานและพฤติกรรมการยกและย้ายของพนักงานพบว่า มีปัญหาทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อสุขภาพและการลาป่วยของพนักงาน ซึ่งมีอัตราการลาป่วยเฉลี่ย 4.75 วัน/ปี ซึ่งเกิดจากการใช้ท่าทางการยกและย้ายกระสอบปุ๋ยไม่เหมาะสม และยังมีการยกย้ายด้วยน้ำหนักที่มากเกินกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยจากการประเมินด้วยวิธี REBA พบว่า ขั้นตอนกระบวนการบรรจุ มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงมาก (12 คะแนน) และจากการประเมินด้วยตาราง Snook พบว่า น้ำหนักของปุ๋ยเคมีที่พนักงานยกและย้ายนั้นเกินจากที่กำหนด
10 เท่า ดังนั้นผู้วิจัยจึงออกแบบเครื่องมือให้เหมาะสมและปรับเปลี่ยนท่าทางการยกและย้ายให้ถูกหลักการยศาสตร์มากขึ้น แล้วทำการประเมินด้วยวิธี REBA ซ้ำหลังการปรับปรุงพบว่าระดับเสี่ยงทางการยศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้ และประเมินด้วยตาราง Snook แล้วพบว่ามีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในระดับต่ำ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการแนะนำพนักงานเกี่ยวกับการใช้งานชุดอุปกรณ์ช่วยยก และวิธีการยกที่เหมาะสมที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). สถิติสะสมจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จำแนกตามจังหวัด รายประเภท ณ สิ้นปี 2565. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/.

ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง และ ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์. (2564). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในคนงานทำไม้ ในสวนป่าไม้สักจังหวัดแพร่. Thai journal of science and technology, 10(2), 223-233. http://doi.org/ DOI:10.14456/tjst.2021.18

ณฤดี พูนเกษม. (2564). การจัดการด้านการยศาสตร์ เพื่อป้องกันอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกโครงร่างของพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถื่น จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. http://202.28.34.124/dspace/handle/123456789/1217.

บรรพต โลหะพูนตระกูล. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงตามหลักการยศาสตร์สำหรับพนักงานขับรถ กรณีศึกษาพนักงานขับรถตู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/13554/3/434698.pdf.

วนิษฐา ปักษีเลิศ, กาญจนา นาถะพินธุ,และ พูนรัตน์ ลียติกุล. (2564). การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และความผิดปกติของระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อของพนักงานโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3), 265-279. https://chdkkujournal.com/subcontent.php?id=934

ไวยวิทย์ ไวยกาญจน์, นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร และ สรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์. (2555). การประเมินทางการยศาสตร์สำหรับงานยกในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555. (492-502). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ดิน. (ม.ป.ป.). ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย. สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ดิน. http://osl101.ldd.go.th/easysoils/s_fertilizer.htm#chem.

อนันต์ชัย อู่คล้าย. (2557). การพัฒนาโปรแกรมประเมินภาระงานทางการยศาสต์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/11450.

Karin Kandananond. (2018). The incorporation of virtual ergonomics to improve the occupational safety condition in a factory. International Journal of Metrology and Quality Engineering, 9(14). https://doi.org/10.1051/ijmqe/2018013.

Maylor, H. and Blackmon, K. (2005). Researching Business and Management (2005th ed.). https://doi.org/10.1007/978-1-137-11022-0.

Nabila Syahira Azizuddin. (2016). The Integration of Occupational Safety, Health and Environment into The Sustainable Development of Fertilizer Industry. [Master’s thesis, University of Malaya]. Academia.edu. https://www.academia.edu/36389594/THE_INTEGRATION_OF_OSHE_INTO_THE_SUSTAINABLE_DEVELOPMENT_OF_FERTILIZER_INDUSTRY.

Narin Tunpaiboon. (29 มกราคม 2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565: อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/chemical-fertilizers/io/io-chemical-fertilizers-20.

Omid et al. (2013). Manual Material Handling Assessment Among Workers of Iranian Casting Workshops. International Journal of Occupational Safety and Ergonomics (JOSE),19 (4). 675–681. https://doi.org/10.1080/10803548.2013.11077021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13