การคัดเลือกแนวการจัดการสอนการพัฒนาโปรแกรมโดยวิธีกระบวนการวิเคราะห์แบบเชิงชั้น

ผู้แต่ง

  • สมชาย ปราการเจริญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
  • วิเชียร ศรีพระจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
  • สุภาคย์ ดุลยสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
  • ธวัชชัย งามสันติวงศ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุชาดา รัตนคงเนตร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การคัดเลือกแนวการจัดการสอน, กระบวนการวิเคราะห์แบบเชิงชั้น

บทคัดย่อ

การสอนการพัฒนาโปรแกรมให้ นักศึกษา ให้มีความเข้าใจ และมีทักษะสามารถพัฒนาโปรแกรมได้จริงเป็นสิ่งท้าทายต่อผู้สอนที่จะดำเนินการด้วยนวัตกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ต่างๆที่จะช่วยให้นักศึกษาสามารถบรรลุสมรรถนะที่กำหนดไว้ งานวิจัยนี้ได้กำหนดเงื่อนไขในการจัดการสอนในสามประเด็นหรือเงื่อนไข  ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไข ประสบการณ์ของผู้สอน ความพร้อมให้บริการของห้องปฏิบัติการ และ ข้อจำกัดด้านเวลาของรายวิชา การทดลองได้สอบถามกลุ่มคณาจารย์ผู้สอนวิชาด้านการโปรแกรมจำนวนห้าท่านเพื่อหาค่าความคิดเห็นโดยเฉลี่ย ค่านี้ได้ถูกนำมาวิเคราะห์หานวัตกรรมการสอนที่คณาจารย์มีความเห็นว่าจะช่วยสงเสริมให้ผู้เรียนได้ดี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าวิธีการจัดการสอนแบบ Typical teaching, Flipped class room และ Community of practice มีค่าความสำคัญหรืออรรถประโยชน์ที่คณาจารย์ให้ความสำคัญที่ระดับ 8.1%, 26.9%, 64.9% ตามลำดับ ผู้เรียนจำนวนสามสิบห้าคนได้ถูกแบ่งเป็นสามกลุ่มกลุ่มละสิบห้าคน มีการวัดผลก่อนเข้าสู่บทเรียนที่ใช้วิธีจัดการการสอนในสามวิธี ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าสู่ระบบการเรียนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากสามรูปแบบ ผลการตรวจสอบพัฒนาการของการเรียนพบว่ากลุ่ม Typical teaching มีค่าคะแนนผลการทดสอบเพิ่มขึ้นที่ 19.35% วิธี Flipped class room มีค่าคะแนนผลการทดสอบเพิ่มขึ้นที่ 37.29% และ Community of practiceมีค่าคะแนนผลการทดสอบเพิ่มขึ้นที่ 44.26%

References

Glassman, A. M., & Opengart, R. (2016). Teaching Innovation and Creativity: Turning Theory into Practice.Journal of International Business Education, 11(). Retrieved from https://commons.erau.edu/publication/696

Ozdamli, F. & Asiksoy, G. (2016). Flipped classroom approach. World Journal on Educational Technology: Current Issues. 8 (2), 98-105

Farnsworth, V, Kleanthous, I and Wenger-Trayner, E (2016) Communities of practice as a social theory of learning: A conversation with Etienne Wenger. British Journal of Educational Studies, 64 (2). pp. 139-160. ISSN 0007-1005 https://doi.org/10.1080/00071005.2015.1133799

Stofkova, K.R.; Malega, P.; Binasova, V. Use of the Analytic Hierarchy Process and Selected Methods in the Managerial Decision-Making Process in the Context of Sustainable Development. Sustainability 2022, 14, 11546. https://doi.org/10.3390/ su141811546

Murat Pasa Uysal Contemporary, Educational Technology 5(3):198-217, September 2014 DOI: 10.30935/cedtech/6125

เผยแพร่แล้ว

2023-12-08