กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านเหลือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
ถ่านอัดแท่ง, เศษถ่านไม้เบญจพรรณ, พลังงานชีวมวลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพ ค่าอุณหภูมิความร้อน ค่าความหนาแน่น และระยะเวลาการเผาไหม้ของถ่านอัดแท่ง จากเศษถ่านไม้เบญจพรรณที่เหลือใช้เป็นจำนวนมากของโรงงานอุตสาหกรรมการอบกุ้งแห้งในพื้นที่ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี โดยการทดลองพบว่าอุณหภูมิความร้อนที่เหมาะสมของถ่านอัดแท่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 556.5 องศาเซลเซียส โดยวัดด้วยเครื่องเทอร์โมมิเตอร์อินฟาเรดวัดห่างจากตัววัตถุ 10 เซนติเมตร จากการวิเคราะห์พื้นผิวและความหนาแน่นของถ่านอัดแท่ง จะมีพื้นผิวแน่นและมีรูพรุนเพียงเล็กน้อยถ้าหากมองด้วยตาเปล่าจะมองไม่เห็น เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดผิววัตถุที่กำลังขยาย 200 ไมครอน มีค่าพื้นผิวความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ที่ 37.32 นาโนเมตร ของอัตราส่วนผสมของน้ำร้อน 500 มิลลิลิตร, แป้งมันสำปะหลัง 25 กรัม, ถ่านผง 500 กรัม และระยะเวลาการเผาไหม้สูงสุด 145 นาที ทางผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าสามารถนำถ่านอัดแท่งไปใช้ประโยชน์ในการประกอบการต่างๆได้ภายในครัวเรือน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว