การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนจากไข่น้ำ

ผู้แต่ง

  • อภิรดา พรปัณณวิชญ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุพรรณิการ์ กล่อมจอหอ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ไข่น้ำ, ก๋วยเตี๋ยว, โปรตีน

บทคัดย่อ

ไข่น้ำเป็นแหล่งอาหารทางเลือกจากพืชท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนจากไข่น้ำเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการแก่อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต งานวิจัยนี้ประกอบด้วยสิ่งทดลอง 7 สิ่งทดลองตามลำดับดังนี้ สิ่งทดลองที่ 1) ชุดควบคุม 2) เสริมไข่น้ำสดร้อยละ 5 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 3) เสริมไข่น้ำสดร้อยละ 10 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 4) เสริมไข่น้ำสดร้อยละ 15 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 5) เสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 5 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 6) เสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 10 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 7) เสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 15 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด จากการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนจากไข่น้ำพบว่าการใช้ไข่น้ำสดและไข่น้ำอบแห้งส่งผลให้ค่าสี L* a* และ b* ของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เส้นก๋วยเตี๋ยวชุดควบคุม เส้นก๋วยเตี๋ยวที่เสริมไข่น้ำสด และเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เสริมไข่น้ำอบแห้งมีค่าปริมาณน้ำอิสระไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยมีค่าปริมาณน้ำอิสระ 0.60–0.62 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำสดและไข่น้ำอบแห้งมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าชุดควบคุม โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวชุดควบคุมมีโปรตีนร้อยละ 3.90 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำสดมีโปรตีนร้อยละ 4.06-4.14 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำอบแห้งมีโปรตีนร้อยละ 4.47-4.98 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 15 มีค่าเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากเส้นก๋วยเตี๋ยวสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่มีปริมาณโปรตีนสูงกว่า ในด้านคุณค่าทางโภชนาการเส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 15 ให้คุณค่าทางโภชนาการต่อตัวอย่าง 100 กรัม ดังนี้ ค่าพลังงาน 182.49 กิโลแคลอรี โปรตีน 4.38 กรัม คาร์โบไฮเดรต 26.93 กรัม ไขมัน 7.25 กรัม เส้นใย 2.29 กรัม และเถ้า 0.81 กรัม ดังนั้นการเสริมไข่น้ำในเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ผลิตภัณฑ์ เป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะขาดโปรตีนและพลังงานสำหรับบุคคลในวัยต่างๆได้ และ ส่งเสริมด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน

References

กุลพร พุทธมี และวริศชนม์ นิลนนท์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่เสริมผำอบแห้ง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 57-69.

ธิติสรร พึ่งกัน. (2563). The Power of Flavor อาหารในยุค 2023. ใน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, TAT Review (น.2). https://tatreviewmagazine.com/article/the-power-of-flavor/.

สุธีรา เข็มทอง, ภัทราพร ยุธาชิต, จิราวรรณ อุ่นเมตตาอารี, ลัดดาวรรณ แย้มทองหลาง, กิตติศักดิ์ มุ่งภู่กลาง, และบุปผชาติ ต่อบุญสูง (2565), ผลของการเสริมไข่น้ำผงต่อคุณภาพของบะหมี่สด. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 20(2), 183-200.

สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2561). ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในประเทศไทย. ใน สถาบันอาหาร, รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย (น.4). https://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/Rep_Health%20and%20wellness_12.10.61.pdf

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (1 กันยายน 2561). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการ. Thai Nutrition Search. https://thaifcd.anamai.moph.go.th/nss/search.php.

ศจี สุวรรณศรี, รัตนา สนั่นเมือง, สุพัตรา สุวรรณธาดา และสอาง ไชยรินทร์. (2548). การผลิตก๋วยเตี๋ยวเส้นสดจากข้าวหัก (รายงานผลการวิจัย). คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมลณัฐ ฉัตรกูล, ศันสนีย์ อุตมอ่าง, วิลาสินี ดีปัญญา และกฤษฏิ์พนธ์ พรรณรัตนชัย. (2555). เทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์ของไข่น้ำเชิงพาณิชย์ (รายงานผลการวิจัย). คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อุมาพร นิยะนุช. (2553). การเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวขององค์ประกอบและกิจกรรมในการต้านออกซิเดชั่นของไข่น้ำ

[วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อธิชา เนตรบุตร, เอกราช เกตวัลห์ และเอกพันธ์ แก้วมณีชัย. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่สดเสริมโคเอนไซม์คิวเทน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 71-81.

AOAC. (2000). Official Methods of Analysis of AOAC International (17 th ed). AOAC Internation. Maryland, USA.

Bao J.S., Kong X.L., Xie J.K., and Xu L.J. (2004) Analysis of genotypic and environmental effects on rice starch. 1. Apparent amylose content, pasting viscosity, and gel texture. J Agric Food Chem, 52(19), 6010-6016.

On-Nom, N., Promdang, P., Inthachat, W., Kanoongon, P., Sahasakul, Y., Chupeerach, C., Suttisansanee, U. and Temviriyanukul, P. (2023). Wolffia globosa-Based Nutritious Snack Formulation with High Protein and Dietary Fiber Contents. Foods, 12(14), 2647. https://doi.org/10.3390/foods12142647

Ruekaewma, N., Piyatiratitivorakul, S. and Powtongsook, S. (2015). Culture system for Wolffia globosa L. (Zemnaceae) for hygiene human food. Songklanakarin journal of science and technology, 37(5), 575 – 580. https://www.researchgate.net/publication/284897053

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03