การศึกษาความเหมาะสมในการรับกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมอิฐมอญและพลาสติกเหลือทิ้ง
คำสำคัญ:
คอนกรีตผสมอิฐมอญ, คอนกรีตผสมพลาสติก, การรับกำลังอัดของคอนกรีตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาของคอนกรีตที่ทำการผสมอิฐมอญและพลาสติกเหลือทิ้ง ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยใช้แบบหล่อตัวอย่างลูกบาศก์ขนาด 15x15x15 cm (มาตรฐาน ASTM C192) ซึ่งอิฐมอญที่ใช้เป็นอิฐมอญที่ใช้เป็นเศษอิฐมอญที่เหลือทิ้งจากการก่อสร้างหรือแตกหักไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้นำไปบด ให้ได้ขนาดตามต้องการและนำไปเป็นส่วนผสมเพิ่มปริมาณเริ่มต้นตั้งแต่ ร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ15 โดยมีตัวอย่างคอนกรีตที่ผสมอิฐมอญ ร้อยละ 5 , ร้อยละ 10 และผสมพลาสติก 50 กรัม , ร้อยละ 15 และผสมพลาสติก 120 กรัม เพื่อทำการทดสอบคุณสมบัติในการรับกำลังอัดของคอนกรีต โดยทำการเปรียบเทียบระหว่าง คอนกรีตที่ผสมวัสดุเหลือทิ้ง ที่ทำการบ่มน้ำและไม่บ่มน้ำ ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ตั้งแต่ 7 วัน , 14 วัน , และ 28 วัน ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบคุณสมบัติในการรับกำลังอัดกับคอนกรีตที่ไม่ได้ทำการผสมวัสดุเหลือใช้ เพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและจัดการปัญหาขยะได้
References
จรัล รัตนโชตินันท์. (2566). การศึกษาความเป็นไปได้ของคอนกรีตผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วสำหรับการรับน้ำหนัก. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 33(1), 11-23.
ทรงสุดา วิจารณ์. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของการนำเศษอิฐมอญมาใช้เป็นวัสดุทดแทนมวลรวมละเอียดและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนในงานคอนกรีต. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ, 25(1), MAT23-1-MAT23-9.
บันฑิต ทองคํา. (2567). การศึกษาการนําวัสดุเหลือทิ้งจากงานก่อสร้างมาทดแทนมวลรวมหยาบในการผสมคอนกรีต. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ, 7(1), 169-174. http://ncteched.fte.kmutnb.ac.th/nc7/NCTechEd07/NCTechEd07TTC01.pdf
วิศิษฎ์ศักดิ์ ทับยัง, นันทชัย ชูศิลป์ และจุฑามาศ ลักษณะกิจ. (2561) การใช้ประโยชน์จากพลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนผสมในคอนกรีต.(รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. https://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/202207/WOCa8dhAUCZmipzIaVbl/WOCa8dhAUCZmipzIaVbl.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว