การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ สีสุข สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ณัฐิวุฒิ พูลสวัสดิ์ สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • เกียรติพงษ์ ยอดเยี่ยมแกร สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ศรีอุดร แซ่อึ้ง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

โมชันกราฟิก, เอไลท์โมชัน, ภาวะอ้วนลงพุง, สื่อมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อโมชันกราฟิก 3) เพื่อประเมินความ
พึงพอใจของผู้ชมสื่อโมชันกราฟิก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง เเบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน อายุระหว่าง 35-60 ปี จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลปัญหาและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ การออกแบบสื่อ สร้างสตอรี่บอร์ด ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อ พัฒนาและสร้างสื่อโมชันกราฟิก ตรวจสอบความถูกต้องและทำการแก้ไข ทำการประเมินประสิทธิภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญและประเมินความพึงพอใจของสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้น มีความยาว 2.12 นาที ผลการประเมินประสิทธิภาพ 3 ด้าน จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก (  = 4.67, S.D. = 0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับดีมาก (  = 4.74, S.D. = 0.50)

References

กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และจรัญ รามศิริ. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง 10 วิธีป้องกันโควิค-19 ด้วยฐานวิถีชีวิตใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กวิสรา วรภัทรขจรกุล. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ วิชา วิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโพธารามที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4320

ธิษณ์ธฤต สุนทรวาที และธัญนันทร์ สัจจะบริบูรณ์. (2566). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ค่าพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพเบื้องต้น. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นวัฒกร โพธิสาร. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะด้านโรคเบาหวาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 77-90.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 11). สุวีริยาสาส์น.

ปิยะ นากสงค์, อัมรินทร์ เพ็ชรกุล, มณีนุช สมานหมู่ และกัมพล ชมภูทิพย์. (2563). รวมเทคนิคสร้างสรรค์งานวิดีโอและเอฟเฟ็กต์ After Effects Motion Graphic Workshop (พิมพ์ครั้งที่ 1). ซิมพลิฟาย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (17 พฤษภาคม 2564). ภาวะโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตจากเชื้อโควิด. https://www.thaihealth.or.th/?p=234032

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (27 สิงหาคม 2563). โรคอ้วนลงพุงภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรชะล่าใจ. https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/โรคอ้วนลงพุงภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรชะล่า

สุพิณญา คงเจริญ. (2560). โรคอ้วน: ภัยเงียบในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 22-29.

สุนิตย์ตา เย็นทั่ว, นที ยงยุทธ และญาณิศา บุญพิมพ์. (2566). สื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสตีม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 19(3), 106-116. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SPUCJ/article/view/262704

Apple Incorporated. (2024). Alight Motion (Version 6.2.6). [Mobile application software]. https://apps.apple.com/th/app/alight-motion/id1459833443?l=th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03