การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานผลิตหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

ผู้แต่ง

  • องอาจ รัตนกระจ่าง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

กระบวนการผลิตหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ, เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด, แผนแบบแฟกทอเรียล, การเพิ่มประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาขั้นตอนกระบวนการผลิตหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire Tube Boiler) ในโรงงานผลิตหม้อไอน้ำ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด
(7 QC Tools) ที่ใช้ได้แก่ ใบตรวจสอบใช้ในการรวบรวมข้อมูล แสดงผลด้วยกราฟ แผนภูมิพาเรโตเรียงลำดับปัญหาเหล่านั้นจากมากไปหาน้อย และแผนภาพก้างปลา ในการค้นหาสาเหตุและหาทางแก้ไขปัญหา จากการศึกษาพบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเกิดจากความ ความไม่สมบูรณ์ของแนวเชื่อม (Welding Defect) เมื่อนำประเภทของความไม่สมบูรณ์ของแนวเชื่อม มาวิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิพาเรโต ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ปัญหาเกิดจาก ฟองอากาศ รอยเชื่อมไม่ประสาน และ การหลอมละลายไม่สมบูรณ์ ผู้วิจัยจึงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เสียหายสูงสุดก่อนตามลำดับ คือ ฟองอากาศ รอยเชื่อมไม่ประสาน และการหลอมละลายไม่สมบูรณ์ ปัจจัยที่ส่งผล คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานเชื่อมตามข้อกำหนด การควบคุมปรับตั้ง พารามิเตอร์การเชื่อม ผู้วิจัยทำการทดลองแบบ
33 แฟคทอเรียล ในการหาระดับปัจจัยที่เหมาะสมและทำการตรวจสอบระหว่างการเชื่อม ผลการดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า จากเดิมปัญหา ฟองอากาศมีจำนวนของเสีย 177 ฟิล์ม ลดลงเหลือ 104 ฟิล์ม คิดเป็นร้อยละ 41 รอยเชื่อมไม่ประสานมีจำนวนของเสีย 92 ฟิล์ม ลดลงเหลือ 72 ฟิล์มคิดเป็นร้อยละ 22 และการหลอมละลายไม่สมบูรณ์มีจำนวนของเสีย 69 ฟิล์ม ลดลงเหลือ 63 ฟิล์ม
คิดเป็นร้อยละ 9

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือการใช้งานและดูแลบำรุงรักษาหม้อน้ำ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยแก่สถานประกอบการ: ความปลอดภัยในการใช้งานหม้อไอน้ำ. กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ชนาภา หันจางสิทธิ์. (2560). Increase productivity เพิ่มผลผลิต พิชิตประสิทธิผล ด้วย Excel. ไอดีซีฯ.

ไทย เอ็น ดี ที. (2559). การทดสอบโดยไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing, NDT). http://www.tndt.co.th.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเชื่อม - รอยต่องานเชื่อมหลอมละลายในเหล็กกล้า นิกเกิล ไทเทเนียม และโลหะเจือ (ไม่รวมการเชื่อมบีม) – ระดับคุณภาพของรอยเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์. (23 พฤศจิกายน 2559). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 270 ง หน้า 2.

ฝนทิพย์ จรจันทร. (2553). การลดของเสียจากระบวนการเชื่อม โดยประยุกต์ใช้วิธีการซิกส์ ซิกม่า กรณีศึกษา บริษัทไทยอาซาฮีเด็นกิ จำกัด. [รายงานการวิจัย, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น]. http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/CRT%20CE%202010/Fonthip%20CRT%20CE%202010.pdf

วันเฉลิม วรรณสถิตย์. (29 กรกฎาคม 2559). เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (7 QC Tools). ECONS. http://econs.co.th/index.php/2016/07/29/7-qc-tools/

ศิวะ เทสติ้ง อินสเพ็คชั่น แอนด์ คอนซัลติ้ง. (2556). การทดสอบโดยไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing, NDT). http://www.siwatesting.com.

ศุภพัฒน์ ปิงตา. (2557). การนำเครื่องมือคุณภาพ ทั้ง 7 (7 QC Tools) มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. http://www.eng.mut.ac.th/article_detail.php?id=50

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13