ผลการพัฒนาการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองไผ่

ผู้แต่ง

  • ดารา สวัสดิ์นะที กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลหนองไผ่

คำสำคัญ:

ความรู้ในการคัดแยกผู้ป่วย, ทักษะในการคัดแยกผู้ป่วย, ความพึงพอใจต่อการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) แบบกลุ่มเดียวใช้การวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยการจัดอบรมให้ความรู้และวัดความรู้กับประเมินทักษะของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการอบรม เครื่องมือที่ใช้คือแบบคัดแยก ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน (trauma) ทำการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2567วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ในแบบติดตามระดับความเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองไผ่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการอบรมความรู้การคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะเจ้าหน้าที่ในคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการฝึกทักษะการคัดแยกตามระดับความเร่งด่วน และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินที่ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและพยาบาลวิชาชีพที่มาปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุนอกเวลาราชการจากหน่วยงานอื่น จำนวน 19 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความถูกต้องในการคัดแยกและความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพการคัดแยกผู้ป่วยด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ในการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ตามระดับความเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองไผ่ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.49 ผลการเปรียบเทียบความรู้ของเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่าหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 17.74 ซึ่งสูงกว่าก่อนอบรมที่มีคะแนนเฉลี่ย 15.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < .05)  3) ผลการเปรียบเทียบทักษะของเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการฝึกทักษะการคัดแยกตามระดับความเร่งด่วน พบว่า หลังการฝึกทักษะมีคะแนนเฉลี่ย 35.21 ซึ่งสูงกว่าก่อนอบรมที่มีคะแนนเฉลี่ย 24.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p <.05) 4) ผลประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.44

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทาง Emergency Severity Index Algorithm Version 4. ในรัฐพงษ์ บุรีวงษ์ (บ.ก.), MOPH ED. TRIAGE. สำนักพิมพ์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ชนิดาภา ไกรธนสอน. (2565). การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 30(1), 76-79. https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/12614

ทัศพร ชูศักดิ์์. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พื้นที่สาธารณสุขเขต 18. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน]. http://library.christian.ac.th/thesis/ShowSearch.php?pointer=T031668.

ธนิษฐา ยศปัญญา. (2564). ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. โรงพยาบาลดอนตาล. https://clouddontanhos.com/doc/whitepaper_tanita.pdf.

พรวิภา ยะสอน. (2566). ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก, 3(2), 10-12. http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/books/view?id=23

พูนมณี อุ่มสัมฤทธิ์. (2566). ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php?id=MTQy.

วัชราภรณ์ โต๊ะทอง. (2565). ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ความแม่นยำการคัดกรอง และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลคัดกรอง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข, 1(2). 1-11. https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/186

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด. (ฉบับที่1).

สุรางค์ วิมลธาดา. (2566). ผลของการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ระยะเวลารอคอย และการรับรู้บทบาทการคัดแยกผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยนอก ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(3), 50-64. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265340

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13