ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ประภาศิริ กัปตพล กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลหนองไผ่

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การจัดการความปวดหลังผ่าตัด, ผ่าคลอดทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดและความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวางแผนการผ่าคลอดทางหน้าท้องแบบรอได้ (Elective case) คือผู้ป่วยที่นัดผ่าตัดไว้ล่วงหน้าตามตารางการผ่าตัดที่โรงพยาบาลหนองไผ่ ระหว่างเดือน มกราคม 2567 ถึง มีนาคม 2567 จำนวน 60 ราย โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย โดยการจับฉลาก จัดเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดสำหรับพยาบาล, แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย, แบบประเมินความปวดหลังผ่าตัด, แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลจัดการความปวด เก็บข้อมูลความปวดหลังผ่าคลอดทางหน้าท้องทุก 2 ชั่วโมง จนครบ 48 ชั่วโมง นำข้อมูลที่ได้มาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลเพื่อจัดการความปวดและคะแนนเฉลี่ยความปวดของผู้ป่วยด้วยสถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความปวดเฉลี่ยหลังผ่าตัดที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05)  โดยกลุ่มทดลองมีระดับความปวดที่ 2.37 และ 1.47 กลุ่มควบคุมมีระดับความปวดที่ 7.53 และ 6.57 ตามลำดับ ความพึงพอใจของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยในด้านที่ 1 ด้านการให้ข้อมูลการจัดการความปวดในระยะก่อนผ่าตัดที่ระดับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยกลุ่มทดลอง 3.91 และกลุ่มควบคุม 3.13 ด้านที่ 4 ด้านการได้รับการจัดการความปวดเมื่อมีความปวดหลังผ่าคลอดทางหน้าท้อง ระดับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยกลุ่มทดลอง 4.91 และกลุ่มควบคุม 3.35, เปรียบเทียบคะแนนความรู้ด้านการจัดการความปวดของพยาบาลวิชาชีพ เพิ่มขึ้นจาก 12.10 เป็น 15.96 หลังการพัฒนาระบบ และ ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าคะแนนความพึงพอใจ 95.40

References

กันตา โกสุมภ์. (2557). ผลลัพธ์ของการใช้แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน]. http://library.christian.ac.th/thesis/ShowSearch.php?pointer=T035809.

เกศรินทร์ อินธิยศ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, เกศศิริ วงษ์คงคำ และ ชินา โอฬารรัตนพันธ์. (2564). ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดด้วยการประคบเย็นร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องต่อระดับความปวดและการเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัดในผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง. วารสารสภาการพยาบาล, 36(3), 83-102. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/250305.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 34(1), 6-14. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/57350.

นิตยา สุขแสน และ เบญจวรรณ คล้ายทับทิม. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการความเจ็บปวดจากการคลอดต่อคะแนนความเจ็บปวดและการรับรู้ประสบการณ์คลอดของหญิงวัยรุ่นในระยะคลอด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16(3), 1-13. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/259221.

พจนีย์ วงศ์ศิริ. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวดความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดบุตรที่ได้รับการระงับความรู้สึกชนิดดมยาสลบห้องพักฟื้น โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 33(3), 441-460. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/216420.

รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และ เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. (2559). บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด : การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 22(1), 9-20. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramanursej/rnj-v22-no1-jan-apr-2016-02.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562. https://www.rcat.org/cpgs.

โรงพยาบาลหนองไผ่. (2566). สถิติผู้รับการผ่าตัดโรงพยาบาลหนองไผ่ ปี 2564 – 2566.

วรนันท์ เรืองโชติ, กัญญดา ประจุศิลป และ มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมการสื่อสารโดยการให้ข้อมูลต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 8(2), 251-262. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/257539.

ศศินาภรณ์ โลหิตไทย และ บุญยิ่ง ทองคุปต์. (2562). ผลของรูปแบบผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(1), 23-32. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/211834.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2560). 2017: Against Pain After Surgery. https://www.tasp.or.th/factsheet/factsheet_thai.php

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). บทที่ 9 งานการพยาบาลวิสัญญี. ใน มาตรฐานปฏิบัติการพยาบาล

สุพรรษา จิตรสม, บานเย็น แสนเรียน และ พรผกาย์ ต้นทอง. (2565). การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16(3), 868-80. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/258785

เสาวนิตย์ กมลวิทย์ และ ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล. 41(2), 23-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13