การศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบ Marketplace : กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, แอปพลิเคชัน Marketplace, ชุมชนท่องเที่ยวบทคัดย่อ
งานวิจัยการศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบ Marketplace กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในชุมชนท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบ Marketplace ของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ ชุมชนและนักท่องเที่ยว ในส่วนชุมชนโดยเลือกแบบเจาะได้แก่ ชุมชนบ้านหินเทิน ชุมชนม้าร้อง ชุมชนอ่าวน้อยและชุมชนทุ่งประดู่ และ นักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ แบบสอบถามเพื่อรวบรวมพฤติกรรมและความต้องการฟังก์ขันของแอปพลิเคชัน วิธีการวิจัยโดยพัฒนาระบบตามแนวทางทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบเป็นตามลำดับขั้นตอนตามแนวคิด (System Development Life Cycle: SDLC) ร่วมกับการใช้รูปแบบอไจล์ (Agile Methodology) ผลของการพัฒนาแอปพลิเคชัน ในรูปแบบ Marketplace ประกอบไปด้วยฟังก์ชัน ค้นหากิจกรรม การระบุตำแหน่งใน GPS จัดเรียงลำดับคะแนนจากการรีวิว ฟังก์ชันรวบรวมข้อมูลกิจกรรม ฟังก์ชันการจองและชำระเงิน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของระบบมีค่าเฉลี่ยรวม 4.25 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ดังนั้นแอปพลิเคชันดังกล่าว สามารถเป็นต้นแบบ เพื่อจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบ Marketplace จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ และ กฤชณัท แสนทวี. (2564). การสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(2), 64-73. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/253603
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นภาพร จันทร์ฉาย และอัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากฐานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น กรณีศึกษา เมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 176-189. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/229051
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). จามจุรีโปรดักท์.
ประชาชาติธุรกิจ. (2565). อพท. ลุยอีสานใต้ปลุกท่องเที่ยวสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืน. ประชาชาติ.https://www.prachachat.net/csr-hr/news-941301
ศริญญกรณ์ พวงเพ็ชร์. (2562). "ความพึงพอใจระบบโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์." [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6626?locale=th
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2565). รัฐบาลคาดปี 2566 จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดรวม 2.38 ล้านล้านบาท กับมามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. กรมประชาสัมพันธ์. https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/121788
อังคาร คะชาวังศรี และ จุฑาทิพย์ พหลภาคย์. (2564). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 139-151. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/14046
John W. Satzinger, Robert B. Jackson, & Stephen D. Burd. (2012). Introduction to System Analysis and Design: An Iterative Approach, Sixth International Edition. Cengage Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว