ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของผลไม้สดและผลไม้อบแห้ง

ผู้แต่ง

  • ปรานอม ขาวเมฆ 2 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดวงฤทัย ศรีแดง 2 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, วิธีดีพีพีเอช, วิธีเอฟซีอาร์, ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด, ผลไม้ไทย

บทคัดย่อ

จากการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ไทย 14 ชนิด ที่สกัดด้วยเมทานอล เมื่อนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ซึ่งใช้วิตามินซี และวิตามินอี เป็นสารเปรียบเทียบ พบว่าทั้งในผลไม้สดและผลไม้อบแห้งที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดคือ มะขามป้อม และเปลือกมังคุด โดยในผลไม้สดมีค่า IC50 เท่ากับ 0.74 และ 1.30 ppm ตามลำดับ ในขณะที่มะขามป้อม และเปลือกมังคุดอบแห้ง ก็มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเช่นกันโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.81 และ 1.98 ppm ตามลำดับ ส่วนวิตามินซี และวิตามินอี มีค่า IC50 เท่ากับ 1.90 และ 2.52 ppm ตามลำดับ สำหรับผลไม้สดชนิดอื่นๆ นั้นมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 18.65 ถึง มากกว่า 500 ppm ส่วนผลไม้อบแห้งมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 21.79  ถึง มากกว่า 500 ppm สำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (total phenolic) ด้วยวิธี FCR พบว่า ในผลไม้สด และผลไม้อบแห้งที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากที่สุดคือ มะขามป้อมมีค่าเท่ากับ 10.060 ± 0.002 และ 9.500 ± 0.003 mg GA/g extract ตามลำดับ รองลงมาคือ เปลือกมังคุด มีค่าเท่ากับ 5.380 ± 0.002 และ 4.540 ± 0.002  mg GA/g extract ตามลำดับ สำหรับการหาปริมาณความหวานของผลไม้สดทั้งหมดพบว่า กล้วยน้ำว้า มีค่าความหวานมากที่สุดเท่ากับ 27.5 %Brix ส่วนผลไม้อื่นๆ มีความหวานอยู่ในช่วง 4.5 ถึง 20.4 %Brix ในการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระจากผลไม้สด และผลไม้อบแห้งนั้นพบว่าผลไม้สด มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าผลไม้อบแห้ง เมื่อทำการอบผลไม้ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และพบว่าค่าความหวานนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ชนิดต่างๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08