การสกัดเบต้าแคโรทีนจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน
คำสำคัญ:
เบต้าแคโรทีน, กากเนื้อในเมล็ดปาล์มบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการสกัดสารเบต้าแคโรทีนจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน โดยใช้ตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ เฮกเซนและไดคลอโรมีเทน จากการตรวจสอบด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีแบบแผ่นบาง (TLC) พบว่าตัวทำละลายทั้งสองชนิดสามารถสกัดสารเบต้าแคโรทีนได้ดีมาก และเมื่อนำส่วนของสารที่สกัดได้ไปทำการแยกน้ำมันออกโดยวิธีการทำให้เย็น พบว่าที่อุณหภูมิต่ำกว่า –5 องศาเซลเซียส สามารถแยกน้ำมันออกจากสารสกัดได้ดีขึ้น อีกทั้งเมื่อนำไปทำปฏิกิริยาสปอนนิฟิเคชั่น ทำให้ได้สารเบต้าแคโรทีนที่มีค่า Rf ตรงกับสารมาตรฐาน นอกจากนี้ผลวิเคราะห์ปริมาณสารเบต้าแคโรทีนที่สกัดได้จากตัวทำละลายเฮกเซนและไดคลอโรมีเทน ด้วยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิด โครมาโทกราฟี (HPLC) พบว่าได้สารเบต้าแคโรทีนในปริมาณ 18.97±1.70 และ 11.41±0.25 mg/kg ของกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันแห้ง ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว