ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยต่อการควบคุมโรคราเขียว (Trichoderma sp.) ของเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum)
Main Article Content
บทคัดย่อ
เชื้อรา Trichoderma sp. เป็นสาเหตุของโรคราเขียวที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยในการควบคุมโรคราเขียวของเห็ดหลินจือ ผลการทดลองพบว่า น้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ กานพลู อบเชย และมะนาว ความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพสูงต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา Trichoderma sp. ที่ 87.17, 85.11, 83.63 และ 80.51 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม การทดสอบผลกระทบของน้ำมันหอมระเหยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดหลินจือ พบว่าน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่และอบเชย ความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสารกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม ความเข้มข้น 0.15 เปอร์เซ็นต์ (ตามคำแนะนำอัตราใช้บนฉลาก) มีผลกระทบต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดหลินจือสูงที่ 30.13, 27.50 และ 25.77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนน้ำมันหอมระเหย กานพลู มะนาว และกระเทียม มีผลกระทบต่ำที่ 15.55, 12.29 และ 9.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองในระยะบ่มก้อนเชื้อและเปิดดอกเห็ดหลินจือ พบว่าน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ กานพลู อบเชย และมะนาว ความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคราเขียว Trichoderma sp. สูงกว่าการใช้สารคาร์เบนดาซิม ความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ การตรวจวัดผลผลิตเห็ดในช่วง 30 วัน พบว่าน้ำมันหอมระเหยมะนาวและกานพลูให้ผลผลิตเห็ด เท่ากับ 153.10 และ 148.95 กรัมต่อถุง ซึ่งสูงกว่าการใช้สารคาร์เบนดาซิม (138.24 กรัมต่อถุง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p £0.05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรงค์ศักดิ์ พุมนวน, กนิษฐา บุญนาค, ธนภรณ์ ดวงนภา, พรหมมาศ คูหากาญจน์และอำมร อินทร์สังข์. (2557). ผลของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม กานพลู และโหระพาต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดฟางเห็ดหูหนูและเห็ดหอม. แก่นเกษตร, 42(3) ฉบับพิเศษ : 876-881.
ธัญญ์วาริน ชูวัฒน์วรกูล, พิชญาภรณ์ สุวรรณกูฏ, สมจินตนา ทวีพานิชย์และสายสมร ลำลอง. (2560). ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราของนํ้ามันหอมระเหยอบเชยต่อเชื้อรา Penicillium citrinum และ Aspergillus flavus ที่แยกได้จากยางแผ่นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(3) : 392-398.
ปริศนา วงศ์ล้อม. (2548). การใช้พืชสมุนไพรและ Bacillus sp. สายพันธุ์ B012-022 ควบคุมโรคราเขียว (Trichoderma harzianum Rifai) ในเห็ดหูหนูและผลของกานพลู (Eugeniaarom atica Ktze.) ต่อการควบคุมโรคทางใบของถั่วฝักยาว (Vigna sesquipedalis Fruw.). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ภัสจนันท์ หิรัญ, อรพิน เกิดชูชื่นและณัฎฐา เลาหกุลจิตต์. (2553). การยับยั้งเชื้อรา Aspergillus spp. โดยน้ำมันหอมระเหยกานพลูและอบเชย. ว.วิทย์. กษ., 41(พิเศษ) : 21-24.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). พืชสมุนไพร. 10 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก : http://www.medplant.mahidol.ac.th/ pubhealth/allium.Html.
วัลยา กองแก้ว และกัลทิมา พิชัย. (2553). การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรและแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมการเจริญของราเขียว (Trichoderma spp.) ในเห็ดโคนญี่ปุ่น. วารสารวิจัย, 3(2) : 26-37.
สายสมร ลำลอง และพงษ์นรินทร์ ยอดสิงห์. (2559). การใช้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่พบบนแผ่นยางพารา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(1) : 30-38.
Altaf, S., Jan, S.K., Ahanger, S.A., Basu, U., Rather, R.A., AliWani, O., Rasool, F., Mushtaq, M., Yassin, M.T., Mostafa, A.A.F., Elgorban, A.M., Haroun, E.E., Sabrout, A.M.E., Casini, R. and Elansary, H.O. (2022). Management of green mold disease in white button mushroom (Agaricus bisporus) and its yield improvement. Journal of Fungi, 8 : 554.
Diba, K., Kordbacheh, P., Mirhendi, S.H., Rezaie, S. and Mahmoudi, M. (2007). Identification of Aspergillus 227 species using morphological characteristics. Pak. J. Med. Sci., 23(6) : 867-872.
Geösel, A., Szabó, A., Akan, O. and Szarvas, J. (2014). Effect of essential oils on mycopathogens of Agaricus bisporus. In Proceedings of the 8th International Conference on Mushroom Biology and Mushroom Products (ICMBMP8), M. Singh, ed. Vol. I & II. (pp. 530-535). New Delhi : ICAR-Directorate of Mushroom Research.
Regnier, T. and Combrinck, S. (2010). In vitro and in vivo screening of essential oils for the control of wet bubble disease of Agaricus bisporus. S. Afr. J. Bot., 76 : 681–685.
Santos, T.L., Belan, L.L., Zied, D.C., Dias, E.S. and Alves, E. (2017). Essential oils in the control of dry bubble disease in white button mushroom. Crop Protection, 47(5) : 1-7.
Shah, S., Nasreen, S. and Kousar, S. (2013). Efficacy of fungicides against Trichoderma spp. causing green mold disease of oyster mushroom (Pleurotus sajor-caju). Res. J. Microbiol, 8(1) : 13-24.
Vorapunthu, S., Nuangmek, W., Suwannarach, N. and Pithakpol, W. (2016). Efficiency of fumigation with volatile from clove, cinnamon and pepper mint essential oil on fungi growth inhibition of water hyacinth handicraft product. Khon Kaen Agr. J., 44(Suppl.) : 205-211.