https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/issue/feed วารสารเกษตรรำไพ 2024-04-30T13:02:06+07:00 รศ.ดร.ถาวร ฉิมเลี้ยง kaset_rbruj@rbru.ac.th Open Journal Systems <p><span style="font-weight: 400;"> วารสารวิจัยเกษตรรำไพ เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ตรวจทานก่อนได้รับการตีพิมพ์ จัดทำโดย คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี รับบทความวิจัยและวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระบบไตรมาส (ปีละ 3 ฉบับ) โดยฉบับที่ 1 ตีพิมพ์ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม ของทุกปี แต่ละฉบับตีพิมพ์บทความไม่เกิน 5 เรื่อง</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"> </span> เปิด<span style="font-weight: 400;">รับบทความด้านการเกษตร เช่น เกษตรศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร ปฐพีศาสตร์ สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตร์เกษตร หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ตีพิมพ์ในรูปแบบบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน โดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access)</span></p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/1549 การศึกษาชีววิทยาและประสิทธิภาพของแมลงหางหนีบขาวงแหวน Euborellia annulipes (Lucas) ในการกินเพลี้ยอ่อนผัก Lipaphis erysimi (Kaltenbach) 2024-02-01T14:24:03+07:00 นันทนัช พินศรี nantanat.pt@gmail.com ภัทรพร สรรพนุเคราะห์ Phattaraporn@gmail.com สาทิพย์ มาลี Satip@gmail.com ณัฏฐิณี ศิริมาจันทร์ Sirimachan@gmail.com <p> การศึกษาชีววิทยาและประสิทธิภาพของแมลงหางหนีบขาวงแหวนที่ห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาและประสิทธิภาพของแมลงหางหนีบขาวงแหวนในการกินเพลี้ยอ่อนผัก เมื่อเลี้ยงแมลงหางหนีบขาวงแหวนด้วยอาหารแมว พบว่าตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม ไข่มีสีขาวลักษณะทรงกลมรี ระยะไข่เฉลี่ย 9.35±1.37 วัน ระยะตัวอ่อนมี 5 วัย มีระยะเจริญเติบโตเฉลี่ย 42.40±1.89 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 86.54±9.61 และ 103.71±11.21 วัน ตามลำดับ ตลอดวงจรชีวิตทั้งหมด 241.99±4.04 วัน เพศเมียสามารถวางไข่ได้ 6-9 ครั้ง ตลอดชีวิต สามารถวางไข่ได้เฉลี่ย 51.10±6.41 ฟองต่อกลุ่ม และศึกษาประสิทธิภาพการกินเพลี้ยอ่อนของแมลงหางหนีบขาวงแหวน โดยใช้เพลี้ยอ่อนตัวเล็ก (วัยที่ 1-3) เพลี้ยอ่อนตัวใหญ่ (วัยที่ 4 ถึง ตัวเต็มวัย) แมลงหางหนีบขาวงแหวนวัยที่ 2, 3, 4, 5, ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย ให้เพลี้ยอ่อนทุกวัน พบว่าแมลงหางหนีบขาวงแหวนวัยที่ 2, 3, 4, 5, เพศผู้และเพศเมีย สามารถกินเพลี้ยอ่อนตัวเล็กได้เฉลี่ย 16.67±10.55, 34.38±14.85, 48.90±15.04, 51.13±11.90, 52.07±18.78 และ 56.42±22.84 ตัวต่อวัน ตามลำดับ ในส่วนเพลี้ยอ่อนตัวใหญ่ใช้แมลงหางหนีบวัยที่ 2, 3, 4, 5, ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย อย่างละ 30 ตัว และให้เพลี้ยอ่อนตัวใหญ่ทุกวันจนกว่าแมลงหางหนีบขาวงแหวนเปลี่ยนวัย พบว่าแมลงหางหนีบขาวงแหวนวัยที่ 2, 3, 4, 5, เพศผู้และเพศเมีย สามารถกินเพลี้ยอ่อนตัวใหญ่ได้เฉลี่ย 3.13±1.63, 4.91±3.02, 9.54±5.48, 10.75±8.13, 11.12±5.13 และ 12.58±5.45 ตัวต่อวัน ตามลำดับ จากการทดลองนี้ไปปรับใช้ในสภาพแปลงปลูกเกษตรกรเพื่อควบคุมการระบาดของเพลี้ยอ่อนในผักต่อไป</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/1563 ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง (NEMA DOA 50 WP) ควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในผักกาดหัว 2024-02-06T18:58:27+07:00 ปาริชาติ จำรัสศรี parichat.jamr@gmail.com อัจฉรียา นิจจรัลกุล Nitjarunkul@gmail.com อิศเรส เทียนทัด Teantad@gmail.com ช่ออ้อย กาฬภักดี Kanpakdee@gmail.com เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ Popoonsak@gmail.com <p> การศึกษาการราดไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง <em>Steinernema carpocapsae</em> สูตรผงละลายน้ำ NEMA DOA 50 WP ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย (<em>Phyllotreta Sinuata</em> Stephans) ในผักกาดหัว มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราและช่วงเวลาในการใช้ NEMA DOA 50 WP ที่เหมาะสมในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในสภาพไร่ ดำเนินการทดลองในพื้นที่อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2565 ศึกษาอัตราการราด NEMA DOA 50 WP ทุก 7 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีราดอัตรา 280, 230, 180 และ 130 มิลลิกรัม/ตารางเมตร, ราดน้ำเปล่า และไม่ราดทั้ง NEMA DOA 50 WP และน้ำเปล่า ผลการทดลองหลังราด NEMA DOA 50 WP จำนวน 7 ครั้ง พบว่าอัตราการราดที่ 230 มิลลิกรัม/ตารางเมตร มีแนวโน้มในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายได้ ต่อมาในปีที่ 2 ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 นำอัตราที่ 230 มิลลิกรัม/ตารางเมตร ไปศึกษาช่วงเวลาการราด วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีราด NEMA DOA 50 WP ทุก 5, 7 และ 10 วัน ราดน้ำเปล่า และไม่ราดทั้ง NEMA DOA 50 WP และน้ำเปล่า ผลการทดลองพบว่า การราด NEMA DOA 50 WP ที่อัตรา 230 มิลลิกรัม/ตารางเมตร ทุก 5 วัน ส่งผลให้จำนวนด้วงหมัดผักแถบลายและรอยทำลายที่ผลผลิตผักกาดหัวน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในผักกาดหัว</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/2144 การประเมินลักษณะความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งของสายพันธุ์ข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี 2024-03-15T09:30:51+07:00 ไอลดา รุ่งพลอย ku.ai.snow@gmail.com สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง Ieamkheng@gmail.com บังอร ธรรมสามิสรณ์ Thammasamisorn@gmail.com <p> โรคขอบใบแห้ง (bacterial blight disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย <em>Xanthomonas oryzae</em> pv. <em>oryzae</em> (Xoo) จัดเป็นโรคข้าวที่สำคัญ เนื่องจากมีการระบาดรุนแรง ทำความเสียหายในแหล่งปลูกข้าว โดยเฉพาะในเขตชลประทานข้าวที่ เป็นโรคนี้รุนแรงผลผลิตจะลดลง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และอาจสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ในข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อโรค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะความต้านทานของข้าว จำนวน 13 สายพันธุ์ ต่อโรคขอบใบแห้งในจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการทดสอบที่โรงเรือนทดลองจังหวัดสุพรรณบุรีด้วยวิธีการปักดำ กระถางละ 1 ต้น จำนวน 3 ซ้ำ และสุ่มเก็บตัวอย่าง ใบข้าวที่เป็นโรคขอบใบแห้งของจังหวัดสุพรรณบุรี มาแยกเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ด้วยเทคนิค tissue transplanting และตรวจสอบด้วยสัณฐานวิทยา พบว่าโคโลนี มีลักษณะกลมนูน ผิวเรียบ มันเยิ้ม มีเมือก และสร้างรงควัตถุสีเหลือง เป็นแบคทีเรียแกรมลบ มีรูปร่างแบบท่อน (gram negative rod ) มีขนาดประมาณ 0.5-0.8 x 1.0-2.0 µm ทดสอบปฏิกิริยาการเกิดโรคตามวิธีการพิสูจน์โรคของ Koch (Koch’s postulation) พบลักษณะอาการเป็นแผลรอยฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเทาเป็นทางยาวตามแนวขอบใบ และเตรียมสารแขวนลอยแบคทีเรียจากเชื้อบริสุทธิ์เพื่อประเมินลักษณะความต้านทานของข้าวสายพันธุ์ดี จำนวน 13 สายพันธุ์ ปลูกด้วยวิธีการปักดำ ทำการทดสอบโรคขอบใบแห้งโดยใช้วิธี clipping method หลังจากปลูกเชื้อแล้ว 21 วัน ประเมินลักษณะอาการที่เป็นโรคโดยการให้คะแนนเป็นพื้นที่ใบที่ถูกทำลาย ผลการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ที่แสดงปฏิกิริยาความต้านทานมาก (HR) 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ R2006 มีพื้นที่ใบข้าวที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย 1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สายพันธุ์ R3001, R3018 และ R3021 มีพื้นที่ใบข้าวที่เชื้อเข้าทำลาย 2 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนงานด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวในประเทศไทยให้มีการพัฒนาข้าวพันธุ์ดี ที่มีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง และเพิ่มทางเลือกในการผลิตข้าวของเกษตรกร </p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ