วารสารเกษตรรำไพ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj <p><span style="font-weight: 400;"> วารสารวิจัยเกษตรรำไพ เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ตรวจทานก่อนได้รับการตีพิมพ์ จัดทำโดย คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี รับบทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระบบไตรมาส (ปีละ 3 ฉบับ) โดยฉบับที่ 1 ตีพิมพ์ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม ของทุกปี แต่ละฉบับตีพิมพ์บทความไม่เกิน 5 เรื่อง</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"> </span> เปิด<span style="font-weight: 400;">รับบทความด้านการเกษตร เช่น เกษตรศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร ปฐพีศาสตร์ สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตร์เกษตร หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ตีพิมพ์ในรูปแบบบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access)</span></p> th-TH kaset_rbruj@rbru.ac.th (รศ.ดร.ถาวร ฉิมเลี้ยง) kaset_rbruj@rbru.ac.th (กองบรรณาธิการ) Fri, 27 Dec 2024 21:16:22 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาปริมาณที่เหมาะสมและการคงอยู่ของแบคทีเรียแลคติกเพื่อใช้เป็นโพรไบโอติก ในอาหารสัตว์น้ำที่ผสมใยอาหารจากเปลือกทุเรียน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3092 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของแบคทีเรียแลคติกที่เหมาะสม และการคงอยู่ของแบคทีเรียแลคติกที่ใช้เป็นโพรไบโอติกในอาหารสัตว์น้ำที่ผสมใยอาหารจากเปลือกทุเรียน 30% โดยเก็บอาหารที่ผสมแบคทีเรียแลคติกในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน 3 อุณหภูมิ คือ อุณหภูมิห้อง ( = 31.5 <sup>º</sup>C) ในตู้เย็น ( = 4.5 <sup>º</sup>C) และในตู้บ่ม (37 <sup>º</sup>C) โดยทดลองเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาหารที่ฉีดพ่นแบคทีเรียแลคติกในวันแรก มีจำนวน 161.64<u>+</u>5.11 CFU×10<sup>5</sup>/g โดยในสัปดาห์ 1, 3 และ 4 อาหารสัตว์น้ำที่เก็บไว้ในตู้เย็นมีอัตราการคงอยู่ของแบคทีเรียแลคติกมากที่สุด รองลงมา คือ ในตู้บ่ม และอุณหภูมิห้อง เมื่อสิ้นสุดการทดลองจำนวนแบคทีเรียแลคติกคงอยู่เท่ากับ 7.53<u>+</u>2.18, 5.48<u>+</u>3.52 และ 3.95<u>+</u>3.09 CFU×10<sup>5</sup>/g ตามลำดับ ส่วนการศึกษาปริมาณของแบคทีเรียแลคติกที่เหมาะสมในอาหารสัตว์น้ำที่ผสมใยอาหารจากเปลือกทุเรียน ปลาตะเพียนขาวมีน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 8.64±0.54 g และมีความยาวเริ่มต้น 9.12±0.27 cm. ใช้เวลาในการทำการทดลอง 8 สัปดาห์ เมื่อพิจารณาในภาพรวมชุดการทดลองที่อาหารปลามีแบคทีเรียแลคติก 10<sup>8</sup> CFU/g มีอัตราน้ำหนักเพิ่ม อัตราความยาวเพิ่มดีที่สุด เท่ากับ 10.89±2.69 g และ 1.39±0.22 cm. รองลงมาคือ อาหารที่มีแบคทีเรียแลคติก 10<sup>6</sup>, 10<sup>7</sup>, 10<sup>9</sup> CFU/g และชุดควบคุม มีอัตราน้ำหนักเพิ่ม เท่ากับ 10.50±3.55, 10.41±2.72, 9.40±1.99 และ 9.05±1.96 g ตามลำดับ อัตราความยาวเพิ่ม เท่ากับ 1.28±0.67, 1.15±0.29, 0.94±0.09 และ 0.57±3.36 cm. ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติ (p&lt;0.05) จึงสรุปได้ว่าปริมาณของแบคทีเรียแลคติกที่เหมาะสมในอาหารสัตว์น้ำที่ผสมใยอาหารจากเปลือกทุเรียน คือ 10<sup>8</sup> CFU/g และควรเก็บอาหารสัตว์น้ำที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกไว้ในตู้เย็นเพื่อคงจำนวนจุลินทรีย์ไม่ให้เสื่อมสภาพหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ความสูญเสียความสามารถในการทำงาน และลดประสิทธิภาพของการส่งเสริมสุขภาพลง</p> อารยา แดงโรจน์, หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3092 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 กรณีศึกษาสถานการณ์สารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมูสด ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3052 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการตกค้างของสารซาลบูทามอล (Salbutamol) ซึ่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูที่มีฉลากว่าเป็นหมูอนามัยในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เพื่อประเมินความปลอดภัยของเนื้อหมูที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เก็บตัวอย่างเนื้อหมูสดจำนวน 20 ตัวอย่าง จากซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตบางแคในวันที่ 4 เมษายน 2567 โดยเลือกแบบสะดวก (Convenience sampling method) จากร้านจำหน่ายเนื้อหมูสดในซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนของเนื้อหมูที่เลือก คือ หมูบด สันใน สันนอก และสันคอ จากแต่ละยี่ห้อ โดยใช้ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง (Salbutamol) ในการตรวจสอบสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมูสด ซึ่งมีค่าความไวของชุดทดสอบ ค่าต่ำสุด ที่ตรวจได้ (LOD) 10 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) ผลการทดลองพบว่ามีการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงใน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งบ่งชี้ว่ามีปัญหาการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูที่จำหน่ายในพื้นที่นี้ การศึกษานี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถช่วยในการควบคุมและตรวจสอบความปลอดภัยของเนื้อหมู เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน</p> <p>การศึกษานี้ศึกษาสถานการณ์สารซาลบูทามอลในเนื้อหมูที่มีฉลากว่าเป็นหมูอนามัยที่จำหน่ายในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการใช้ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง Salbutamol เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นเนื้อหมูสดที่โฆษณาว่าเป็นหมูอนามัย ที่จำหน่ายในเขตบางแค เก็บตัวอย่างเนื้อหมูที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตบางแค ในวันที่ 4 เมษายน 2567 โดยเลือกแบบสะดวก (convenience sampling method) จากร้านจำหน่ายเนื้อหมูสดในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยทำการสุ่มเก็บจากเขตบางแค จำนวน 20 ตัวอย่าง ซึ่งส่วนของเนื้อหมูที่เลือกคือ หมูบด สันใน สันนอก สันคอ โดย 1 ตัวอย่างเก็บจาก 1 ยี่ห้อ</p> <p>จากตัวอย่างเนื้อหมูสดทั้งหมด 20 ตัวอย่าง ซึ่งโฆษณาว่าเป็นเนื้อหมูอนามัย นำมาตรวจหาสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง (Salbutamol) ตรวจพบสารเร่งเนื้อแดงจำนวน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมด </p> กัญญ์วรา ซื่อสัตย์เวช, มณิวรา ซื่อสัตย์เวช Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3052 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวผสมสาหร่ายผมนาง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3174 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวผสมสาหร่ายผมนางผล โดยผสมสาหร่ายผมนางผงระดับต่าง ๆ ได้แก่ ร้อยละ 0, 1, 2 และ 3 โดยน้ำหนัก นำผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวมาวิเคราะห์ค่าสี <em>L* a* b*</em> และค่าความหนืดของน้ำแป้งเส้นก๋วยเตี๋ยว พบว่าค่าสี <em>-a*</em> (ความเป็นสีเขียว) และค่าความหนืดของน้ำแป้งเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณสาหร่ายผมนางผง นำผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยการให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ จากการทดสอบพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความชอบเฉลี่ยคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสด้านต่าง ๆ กับเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีปริมาณสาหร่ายผมนางร้อยละ 1 โดยน้ำหนักมากที่สุด มีคะแนนความชอบในช่วงชอบเล็กน้อย (5.93 คะแนน) สาหร่ายผมนางสามารถนำไปใช้ในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยว</p> จิรพร สวัสดิการ, อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ, หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3174 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700