วารสารเกษตรรำไพ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj
<p><span style="font-weight: 400;"> วารสารวิจัยเกษตรรำไพ เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ตรวจทานก่อนได้รับการตีพิมพ์ จัดทำโดย คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี รับบทความวิจัยและวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระบบไตรมาส (ปีละ 3 ฉบับ) โดยฉบับที่ 1 ตีพิมพ์ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม ของทุกปี แต่ละฉบับตีพิมพ์บทความไม่เกิน 5 เรื่อง</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"> </span> เปิด<span style="font-weight: 400;">รับบทความด้านการเกษตร เช่น เกษตรศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร ปฐพีศาสตร์ สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตร์เกษตร หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ตีพิมพ์ในรูปแบบบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน โดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access)</span></p>
th-TH
วารสารเกษตรรำไพ
2822-1419
-
ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ผลิตจากมูลวัวและเปลือกทุเรียน ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/2951
<p> การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ผลิตจากมูลวัวและเปลือกทุเรียนต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทอง วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 5 สิ่งทดลอง คือ ไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดควบคุม), ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนอัตรา 60.75, 121.95 และ 243 กรัมต่อต้น และปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 10 กรัมต่อต้น ดำเนินการทดลองที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นระยะเวลา 49 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองบันทึกข้อมูลความสูงที่เพิ่มขึ้น จำนวนยอดที่เพิ่มขึ้น จำนวนใบที่เพิ่มขึ้น จำนวนใบร่วง ค่า SPAD value ของใบเก่าและใบใหม่ น้ำหนักสดราก น้ำหนักสดลำต้น และน้ำหนักสดใบ จากการทดลองพบว่าต้นทุเรียนที่ได้รับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนอัตรา 243 กรัมต่อต้น มีความสูงที่เพิ่มขึ้นและจำนวนยอดที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุเรียนที่ได้รับปุ๋ยเคมี แต่อย่างไรก็ตามจำนวนใบที่เพิ่มขึ้น ค่า SPAD value ใบใหม่และน้ำหนักสดใบของต้นทุเรียนที่ได้รับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนอัตรา 243 กรัมต่อต้น มีค่าน้อยกว่าต้นทุเรียนที่ได้รับปุ๋ยเคมี ในขณะที่จำนวนใบร่วง น้ำหนักสดราก และน้ำหนักสดลำต้นในทุกสิ่งทดลองไม่มีความแตกต่างกัน</p>
วิกันยา ประทุมยศ
พิมพ์ใจ สุวรรณวงค์
เลิศชัย จิตร์อารี
หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์
สุทิศา ชัยกุล
นิรดา เขียวผ่อง
ธัญดา เบญธวารีเดชา
ธนาวิล วงษ์เจริญ
ธีรชัย ศรีไพล
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
2 2
1
10
-
ประเมินการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและปริมาณออกซาเลตในใบของมันเทศสามสายพันธุ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/2548
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตทางลำต้นและปริมาณออกซาเลตในใบของมันเทศ 3 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ factorial in completely randomized design (factorial in CRD) โดยปัจจัย A คือ สายพันธุ์มันเทศ 3 สายพันธุ์ คือ เพอเพิ้ลสวีทโรด (Purple Sweet Road) ม่วงโอกินาวา (Purple Okinawa Beni Imo) และขาวผักกาด (Kuri Beni Imo) ปัจจัย B คือ อายุของมันเทศ 4 ระดับ คือ อายุมันเทศ 30, 60, 90 และ 120 วัน กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลด้านความยาวเถาหลัก จำนวนกิ่งต่อต้น น้ำหนักสดใบและน้ำหนักแห้งใบ คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนซ์ พื้นที่ใบ พื้นที่ใบจำเพาะ และปริมาณออกซาเลตในใบ พบว่าสายพันธุ์และอายุหลังปลูกมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยสายพันธุ์ม่วงโอกินาวาที่อายุ 120 วันหลังปลูก ให้ความยาวเถาหลัก น้ำหนักใบสด และน้ำหนักแห้งใบ ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงสูงสุด (0.74) แต่ด้านจำนวนกิ่งต่อต้นนั้นพบว่าสายพันธุ์ขาวผักกาดที่อายุ 120 วันหลังปลูก ให้จำนวนกิ่งต่อต้นสูงสุด (17 กิ่ง) การประเมินปริมาณออกซาเลตในใบมันเทศ พบว่า สายพันธุ์เพอเพิ้ลสวีทโรดที่อายุ 30 วันหลังปลูก มีปริมาณออกซาเลตในใบสูงสุดถึง 165.63 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด รองลงมา สายพันธุ์ม่วงโอกินาวาที่อายุ 30 วันหลังปลูก และสายพันธุ์ขาวผักกาดที่อายุ 30 วันหลังปลูก ซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ม่วงโอกินาวา มีแนวโน้มสามารถปรับตัวในการเจริญเติบโตได้ดี หากต้องการบริโภคใบมันเทศควรหลีกเลี่ยงระยะมันเทศที่อายุ 30 วันหลังย้ายปลูก ซึ่งมีปริมาณออกซาเลตในใบมันเทศที่สูง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการบริโภคใบมันเทศที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ</p>
ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์
ฆนาลัย เข็มเอี่ยม
ปรมาภรณ์ วงค์คำชาญ
ธัญญารัตน์ แตงสีนวล
นนทวัฒน์ มากดี
อนุกูล ศรีไสล
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
2 2
11
22
-
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าในจังหวัด สุราษฎร์ธานี
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/kaset_rbruj/article/view/3071
<p> การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อการให้ลักษณะผลผลิตปาล์มน้ำมัน ได้ดำเนินการระหว่างปี 2557 - 2564 ด้วยการรวบรวมข้อมูลลักษณะอากาศ 8 ปี (2557-2564) บันทึกและรวบรวมข้อมูลผลผลิตปาล์มน้ำมัน 6 ปี (2559-2564) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสภาพภูมิอากาศกับผลผลิตปาล์มน้ำมัน ผลการวิจัย พบว่า สภาพอากาศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ด้วยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800.54 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 158 วันต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 83.34 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิเฉลี่ย 27.29 องศาเซลเซียส โดยช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงกว่า 200 มิลลิเมตรต่อเดือน คือ ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 248.93, 256.10 และ 316.96 มิลลิเมตร ตามลำดับ ขณะที่กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน การให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 6 ปี (2559-2564) พบว่า มีน้ำหนักทะลายสดเฉลี่ย 261.01 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี จำนวนทะลายเฉลี่ย 13.87 ทะลายต่อต้นต่อปี และน้ำหนักต่อทะลายเฉลี่ย 19.69 กิโลกรัม โดยผลผลิตทะลายสดสูงสุดในเดือนกันยายน เฉลี่ย 36.19 กิโลกรัมต่อต้น และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ย 14.14 กิโลกรัมต่อต้น สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะอากาศกับการให้ผลผลิต พบว่า ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิต่ำสุดต่อปี มีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตทะลายในระดับปานกลาง แต่ปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกจะมีอิทธิพลสูงต่อการให้ผลผลิตทะลายสดแบบแปรผันตาม ดังนั้น เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกของ 2 ปี ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต สำหรับประกอบการประเมินเพื่อคาดการณ์แนวโน้มการให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันและวางแผนการจัดการสวนที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพอากาศได้ต่อไป</p>
สุธีรา ถาวรรัตน์
จินตนาพร โคตรสมบัติ
สุภาพร ขุนเสถียร
สมคิด ดำน้อย
สุรกิตติ ศรีกุล
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรรำไพ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
2 2
23
32