ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทะเลในป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี Species Diversity and Abundance of Marine Molluscs in Mangrove Forest and Seagrass Bed at Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทะเลในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยวิธีการเก็บด้วยมือในช่วงน้ำทะเลลด ในบริเวณระบบนิเวศป่าชายเลน และ ระบบนิเวศหญ้าทะเลผมนาง (Halodule pinifolia) และระบบนิเวศหญ้าทะเลชะเงาใบยาว (Enhalus acoroides) ผลการศึกษาพบความหลากชนิดของหอยทะเลทั้งสิ้นจำนวน 17 วงศ์ 26 สกุล 29 ชนิด ระบบนิเวศที่พบความหลากหลายของหอยทะเลมากที่สุดคือ ระบบนิเวศป่าชายเลน พบจำนวน 21 ชนิด รวมทั้งพบความชุกชุมตลอดทั้งปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48 รองลงมาคือ ระบบนิเวศหญ้าทะเลผมนาง และหญ้าทะเลชะเงาใบยาว พบจำนวน 12 ชนิด และ 10 ชนิด สำหรับร้อยละความชุกชุมมีค่าเท่ากับ 39 และ 13 ตามลำดับ นอกจากนี้การทดสอบความแตกต่างของความชุกชุมของหอยทะเลในแต่ละระบบนิเวศ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการทดสอบความแตกต่างของค่าความชุกชุมของหอยทะเลในแต่ละฤดูกาล พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยพบความชุกชุมของหอยทะเลในฤดูแล้งและฤดูฝนมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 55 และ ร้อยละ 45 และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของความชุกชุมของหอยทะเลกับค่าปัจจัยทางกายภาพ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับ
ค่าปัจจัยทางกายภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประมง. (2564). ข้อมูลทางสถิติจากกรมประมง. 3 มีนาคม 2564, เข้าถึงได้จาก : https://www.fisheries.go.th.
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. (2564). ตารางน้ำขึ้นน้ำลง. 7 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก : https://www.hydro.navy.mi.th.
ชุตาภา คุณสุข, นันทนา คชเสนี และนิพาดา เรือนแก้ว. (2549). พลวัตประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุตาภา คุณสุข, ประสาน แสงไพบูลย์, ศศิธร พุทธรักษ์, พรเพ็ญ แสงศรี และสุดารัฐ กะฐินศรี. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขนาดตาลอบแบบพับได้ต่อการทำประมงปูม้าบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22(ฉบับพิเศษ) : 96-109.
ชุตาภา คุณสุข และวิรังรอง กรินท์ธัญญกิจ. (2562). ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลผมนาง (Halodule pinifolia) บริเวณหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 6(6) : 16-39.
ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์, ธีระพงษ์ ด้วงดี และณรงค์พล สิทธิทวีพัฒน์. (2551). คู่มืออันดามันหอยทะเลไทย. กรุงเทพฯ : พัฒนาการวิจัยการเกษตร.
นิติพัฒน์ บุญส่ง, นภาขวัญ แหวนเพชร, จรวย สุขแสงจันทร์ และ ธนัสพงษ์ โภควนิช. (2562). การแพร่กระจายและความหนาแน่นของหอยสองฝาเศรษฐกิจ (หอยแครงลิง และหอยคราง) บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57 (หน้า 380-387). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิติพัฒน์ บุญส่ง, นภาขวัญ แหวนเพชร และธนัสพงษ์ โภควนิช. (2563). ความหนาแน่น และการแพร่กระจายของหอยกระปุก Marcia hiantina (Lamarck, 1818). บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 (หน้า 285-292). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา. (2552). หอยในเมืองไทย (Shells of Thailand). ชลบุรี : คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุชาติ อุปถัมภ์, มาลียา เครือตาชู, ศิริวรรณ จันทเตมีย์ และเยาวลักษณ์ จิตรามวงศ์. (2538). สังขวิทยา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภา
การพิมพ์.
สุเมธ แก้วน้อย, ธีระพงศ์ ด้วงดี และณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์. (2559). ผลของการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นต่อการ เปลี่ยนแปลงประชากรหอยแครง Anadara granosa (Linnaeus, 1758) ตำบลแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54 (หน้า 823-831). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
CSIRO. (2007). Cycloneritomorpha Neritidae. Retrieved June 27, 2011, from http://www.mdfrc.org.au/bugguide/ display.asp?class=21&subclass=&order=46&Couplet=0&Type=3.
Lauhajinda, N. (2003). Ecology : basic environment education. Bangkok : Kasetsart University Press.
Rhod, D.C. (1974). Organism-sediment relations on the muddy sea floor. Oceanography and Marine Biology : An Annual Review, 12(1) : 263-300.
Satumanatpan, S., Thummikkapong, S. and Kanongdate, K. (2011). Biodiversity of benthic fauna in the seagrass ecosystem of Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province, Thailand. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 33(3) : 341-348.