ลักษณะของแมงกะพรุน Pelagia panopyra (Péron & Lesueur, 1810) ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ Characteristics of The Semaeostome Jellyfish Pelagia panopyra (Péron & Lesueur, 1810) Under Laboratory Condition
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยา และวงจรชีวิตของแมงกะพรุน Pelagia panopyra (Péron & Lesueur, 1810) ภายในห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ระยะพลานูล่า (planula stage) จนถึงระยะเอฟิร่าที่สมบูรณ์ (ephyra fully developed stage) โดยพบว่าวงจรชีวิตของแมงกะพรุน P. panopyra มีเพียงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) ในระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่า (medusa stage) หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในตู้เลี้ยง พบการวางไข่ ไซโกตมีการแบ่งเซลล์และพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะพลานูล่าภายใน 20-24 ชั่วโมง เมื่ออายุ 6 ชั่วโมง พลานูล่าพัฒนาเข้าสู่ระยะเอฟิร่าเริ่มต้น (newly ephyra stage) และเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะเอฟิร่าที่สมบูรณ์ (ephyra fully developed stage) ใช้ระยะเวลาพัฒนาการทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30-32 องศาเซลเซียส และความเค็มอยู่ระหว่าง 30-32 ส่วนในพันส่วน (ppt)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิไลวรรณ พวงสันเทียะ. (2560). วงจรชีวิต และผลของอุณหภูมิ ความเค็ม ต่อการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไซพิสโตม่าแมงกะพรุนถ้วยหางขน Acromitus
flagellatus (Maas, 1903) ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ ชูศรี, ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน, วิรชา เจริญดี, สมรัฐ ทวีเดช และวิไลวรรณ พวงสันเทียะ. (2559). ศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนถ้วยบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดตราด. ใน การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 8 สาหร่ายและแพลงก์ตอน : วิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ยั่งยืน, 27-28 มีนาคม 2560 (หน้า 37). ชลบุรี : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันวิจัยและทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. (2558). คู่มือการศึกษาความหลากหลายของแมงกะพรุนในน่านน้ำไทย. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
สถาบันวิจัยและทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. (2559). แมงกะพรุนกลุ่ม Scyphozoa. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
Arai, M.N. (1997). A functional biology of scyphozoa. New York : Chapman & Hall.
Gershwin, L.A., & Collins, A.G. (2002). A preliminary phylogeny of Pelagiidae (Cnidaria, Scyphozoa), with new observations of Chrysaora colorata comb. nov. Journal of Natural History, 36 : 127-148.
Liu, W-C., & Lo, W-T. (2009). Effects of temperature and light intensity on asexual reproduction of the scyphozoan, Aurelia aurita (L.) in Taiwan. Journal of Hydrobiologia, 616(1) : 247–258.
Nontivich, T. (2001). Species diversity and abundance of rhizostome scyphozoans (Phylum Cnidaria) along the coasts of Chon Buri and Phetchaburi Province. Master’s thesis, Department of Marine Science, Chulalongkorn University.
Piraino, S., Aglieri, G., Martell, L., Mazzoldi, C., Melli, V., Milisenda, G., Scorrano, S., & Boero, F. (2014). Pelagia benovici sp. nov. (Cnidaria, Scyphozoa) : a new jellyfish in the Mediterranean Sea. Journal of Zootaxa, 3794(3) : 455-468.
Pitt K. A. (2000). Life history and settlement preferences of the edible jellyfish Catostylus mosaicus (Scyphozoa: Rhizostomeae). Journal of Marine Biology, 136 : 269-279.
Schiariti, A., Kawahara, M., Uye, S., & Mianzan, H.M. (2008). Life cycle of the jellyfish Lychnorhiza lucerna (Scyphozoa : Rhizostomeae). Journal of Marine Biology, 156 : 1-12.