พัฒนาการของปลาฉลามลายหินอ่อน Atelomycterus marmoratus ที่อนุบาลในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด Development of Marble Shark (Atelomycterus marmoratus) in The Closed Circulating Water System

Main Article Content

ศิริวรรณ ชูศรี
วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
จักรพงษ์ ศรีพนมยม
นภัสสร ทานผล

บทคัดย่อ

ศึกษาพัฒนาการของปลาฉลามลายหินอ่อน (Atelomycterus marmoratus) ที่เลี้ยงในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด เป็นเวลา 76 วัน ผลการวิจัยพบว่าไข่ปลาฉลามมีรูปร่างเป็นวงรีไปจนถึงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีน้ำตาลอ่อน ความยาวเฉลี่ยของไข่ 7.75±0.06 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ย 2.75±0.03 เซนติเมตร อุณหภูมิของน้ำ 25±0.79 องศาเซลเซียส สามารถแบ่งระยะพัฒนาการของไข่ฉลามได้เป็น 7 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (อายุ 1-9 วัน) ไม่พบตัวอ่อนบนเยื่อหุ้มไข่แดง ระยะที่ 2 (อายุ 10-13 วัน) ตัวอ่อนขนาดเล็กฝังตัวที่ผิวเยื่อหุ้มไข่แดง ระยะที่ 3 (อายุ 14-30 วัน) ตัวอ่อนมีการพัฒนาในส่วนของหางที่ยาวขึ้น เหงือก อวัยวะ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และหัวใจ ระยะที่ 4 (อายุ 31-50 วัน) ปรากฏเม็ดสีเข้มในตาและเส้นใยเหงือกของตัวอ่อนชัดเจนขึ้น ระยะที่ 5 (อายุ 51-69 วัน) ตัวอ่อนเริ่มคล้ายปลาฉลามโตเต็มวัยทั้งรูปร่างและหน้าตา ระยะที่ 6 (อายุ 70-75 วัน) เม็ดสีมีการพัฒนามากขึ้นบนผิวหนัง มีลวดลายเป็นแถบบนลำตัว ปาก ครีบหลัง ครีบหาง และครีบอกเจริญเต็มที่ ระยะที่ 7 (อายุ 76 วัน) อวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเจริญเต็มที่และเห็นเม็ดสีชัดเจน ลูกฉลามแรกฟักมีความยาวลำตัว 9.2 เซนติเมตร น้ำหนัก 2.57 กรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. (มปป.). แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2567.กรุงเทพมหานคร : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ทัศพล กระจ่างดารา, อาหมัด อาลี, ชวลิต วิทยานนท์, สุภชัย รอดประดิษฐ์ และนันทริกา ชันซื่อ. (2562). คู่มือปลากระดูอ่อนที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ราตรี สุขสุวรรณ์ และสาโรช อุบลสุวรรณ. (2547). ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาฉลามกบ (Chiloscylium hasselti Bleeker, 1852). เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2547. ภูเก็ต : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน.

Compagno, L.J.V. (1988). Sharks of the Order Carcharhiniformes. New Jersey : Princeton University Press.

Compagno, L.J.V and Niem V.H. (1998). Catsharks. In Carpenter K.E., Niem V.H. (eds) Species identification guide for fishery purposes. The living marine resources of the western central Pacific. Cephalopods, crustaceans, holothurians and sharks. Rome : FAO.

Ebert, D.A., Compagno, L.J.V. and Cowley, P.D. (2006). Reproductive biology of catsharks (Chondrichthyes : Scyliorhinidae) off the west coast of Southern Africa. ICES Journal of Marine Science, 63(6) : 1053-1065.

Musa, S.M, Czachur, M.V and Shiels, H.A. (2018). Oviparous elasmobranch development inside the egg case in 7 key stages. PLoS ONE, 13(11) : 1-29.

White, W.T., Last, P.R., Stevens, J.D., Yearsley, G.K. and Fahmi, Dharmadi. (2006). Economically Important Sharks and Rays of Indonesia. Canberra : ACIAR.