ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าในจังหวัด สุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุธีรา ถาวรรัตน์
จินตนาพร โคตรสมบัติ
สุภาพร ขุนเสถียร
สมคิด ดำน้อย
สุรกิตติ ศรีกุล

บทคัดย่อ

     การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อการให้ลักษณะผลผลิตปาล์มน้ำมัน ได้ดำเนินการระหว่างปี 2557 - 2564 ด้วยการรวบรวมข้อมูลลักษณะอากาศ 8 ปี (2557-2564) บันทึกและรวบรวมข้อมูลผลผลิตปาล์มน้ำมัน 6 ปี (2559-2564) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสภาพภูมิอากาศกับผลผลิตปาล์มน้ำมัน ผลการวิจัย พบว่า สภาพอากาศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ด้วยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800.54 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 158 วันต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 83.34 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิเฉลี่ย 27.29 องศาเซลเซียส โดยช่วงเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงกว่า 200 มิลลิเมตรต่อเดือน คือ ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 248.93, 256.10 และ 316.96 มิลลิเมตร ตามลำดับ ขณะที่กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน การให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 6 ปี (2559-2564) พบว่า มีน้ำหนักทะลายสดเฉลี่ย 261.01 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี จำนวนทะลายเฉลี่ย 13.87 ทะลายต่อต้นต่อปี และน้ำหนักต่อทะลายเฉลี่ย 19.69 กิโลกรัม โดยผลผลิตทะลายสดสูงสุดในเดือนกันยายน เฉลี่ย 36.19 กิโลกรัมต่อต้น และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ย 14.14 กิโลกรัมต่อต้น สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะอากาศกับการให้ผลผลิต พบว่า ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิต่ำสุดต่อปี มีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตทะลายในระดับปานกลาง แต่ปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกจะมีอิทธิพลสูงต่อการให้ผลผลิตทะลายสดแบบแปรผันตาม ดังนั้น เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกของ 2 ปี ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต สำหรับประกอบการประเมินเพื่อคาดการณ์แนวโน้มการให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันและวางแผนการจัดการสวนที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพอากาศได้ต่อไป

Article Details

บท
Academic Article
Author Biographies

จินตนาพร โคตรสมบัติ, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7

กรมวิชาการเกษตร

สุภาพร ขุนเสถียร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7

กรมวิชาการเกษตร

สมคิด ดำน้อย, สำนักผู้เชี่ยวชาญ

กรมวิชาการเกษตร

สุรกิตติ ศรีกุล, สำนักผู้เชี่ยวชาญ

กรมวิชาการเกษตร

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). บริการข้อมูลการตรวจวัดและสถิติอุตุนิยมวิทยา. 20 มกราคม 2563, เข้าถึงได้จาก : https://www.tmd.go.th/service/tmdData.

สถาบันวิจัยพืชไร่. (2554). การจัดการสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์ม. กรุงเทพ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุรกิตติ ศรีกุล. (2547). เอกสารวิชาการปาล์มน้ำมัน. สุราษฎร์ธานี : กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2565. กรุงเทพ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2566. กรุงเทพ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Carr, M.K.V. (2011). The water relations and irrigation requirements of oil palm (Elaeis guineensis) : a review. Experimental Agriculture, 47 : 629-652.

Chow, C.S. (1992). The effects of season, rainfall and cycle on oil palm yield in Malaysia. Journal of Oil Palm Research, 4 : 32-43.

Corley, R.H.V. and Tinker, P.B. (2016). The Oil Palm Fifth Edition. UK : Wiley Blackwell.

Department of Standards Malaysia. (2005). Malaysian standard MS 157 : 2005 oil palm seed for commercial planting specification (Third revision). Malaysia : Department of Standard Malaysia.

Goh, K.J. (2000). Climatic requirements of the oil palm for high yields. In Managing Oil Palm for High Yield : Agronomic Principles. Kuala

Lumper. (p 1-17). Malaysian Society of Soil Science and Param Agricultural Surveys.

Goh, K.J., Chiu, S.B. and Paramananthan, S. (2018). Agronomic Principles and Practices of Oil Palm Cultivation. Malaysia : Agricultural Crop Trust (ACT).

R Core Team. (2020). R : A language and environment for statistical computing. Retrieved March 3, 2021, from https://www.r-project.org.

Ramli, A. (2012). An analysis of crude palm oil production in Malaysia. Oil Palm Industry Economic Journal, 12(2) : 36-43.

Sarkar, M.S.K., Rawshan, A.B. and Joy, J.P. (2020). Impact of climate change on oil palm production in Malaysia. Environmental Science and Pollution Research, 27 : 9760-9770.

Woittiez, L., Mark, T. van W., Maja, S., Meine, van N. and Ken, E.G. (2016). Yield gaps in oil palm : a quantitative review of contributing factors. European Journal of Agronomy, 83 : 57-77