กรณีศึกษาสถานการณ์สารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมูสด ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กัญญ์วรา ซื่อสัตย์เวช
มณิวรา ซื่อสัตย์เวช

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการตกค้างของสารซาลบูทามอล (Salbutamol) ซึ่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูที่มีฉลากว่าเป็นหมูอนามัยในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เพื่อประเมินความปลอดภัยของเนื้อหมูที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เก็บตัวอย่างเนื้อหมูสดจำนวน 20 ตัวอย่าง จากซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตบางแคในวันที่ 4 เมษายน 2567 โดยเลือกแบบสะดวก (Convenience sampling method) จากร้านจำหน่ายเนื้อหมูสดในซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนของเนื้อหมูที่เลือก คือ หมูบด สันใน สันนอก และสันคอ จากแต่ละยี่ห้อ โดยใช้ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง (Salbutamol) ในการตรวจสอบสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมูสด ซึ่งมีค่าความไวของชุดทดสอบ ค่าต่ำสุด ที่ตรวจได้ (LOD) 10 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) ผลการทดลองพบว่ามีการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงใน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งบ่งชี้ว่ามีปัญหาการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูที่จำหน่ายในพื้นที่นี้ การศึกษานี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถช่วยในการควบคุมและตรวจสอบความปลอดภัยของเนื้อหมู เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน


การศึกษานี้ศึกษาสถานการณ์สารซาลบูทามอลในเนื้อหมูที่มีฉลากว่าเป็นหมูอนามัยที่จำหน่ายในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยการใช้ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง Salbutamol เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นเนื้อหมูสดที่โฆษณาว่าเป็นหมูอนามัย ที่จำหน่ายในเขตบางแค เก็บตัวอย่างเนื้อหมูที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตบางแค ในวันที่ 4 เมษายน 2567 โดยเลือกแบบสะดวก (convenience sampling method) จากร้านจำหน่ายเนื้อหมูสดในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยทำการสุ่มเก็บจากเขตบางแค จำนวน 20 ตัวอย่าง ซึ่งส่วนของเนื้อหมูที่เลือกคือ หมูบด สันใน สันนอก สันคอ โดย 1 ตัวอย่างเก็บจาก 1 ยี่ห้อ


จากตัวอย่างเนื้อหมูสดทั้งหมด 20 ตัวอย่าง ซึ่งโฆษณาว่าเป็นเนื้อหมูอนามัย นำมาตรวจหาสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง (Salbutamol) ตรวจพบสารเร่งเนื้อแดงจำนวน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมด               

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). “หมูเถื่อน”ปนสารเร่งเนื้อแดง อันตรายผู้บริโภค จี้ อย.ตรวจเข้มทั่วประเทศ. 24 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/582326#google_vignette.

นพดล มีมาก และ สิริลักษณ์ สายหงษ์. (2552). การตรวจพบสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ในสุกรจากฟาร์มและโรงฆ่าในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 1(1) : 13-19.

บี สมาร์ท ซายเอ็นซ์. (2567). ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง (Salbutamol). 20 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://wwwg. bsmartsci.com/product/215/ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดงสารซาลบูทามอล.

ปัณณทัต อรุณพัลลภ, นลัคสรา กันแกว, ศุภชัย เฮงจิตตระกูล, ธิอันตรา จิระสานต์, ชยุต วงศ์วิชยาภรณ์, ทัพพสาร สุขสุธรรมวงศ์, ณัฏฐ์วิทิต ไชยอรนันท์, บุญนิสา คิดมงคล, ชนาสิน คิดมงคล, พิมพ์มาดา คุณปลื้ม, ปรินทร ชลายนานนท์, ศุจิมน มังคลรังสี. (2566). สถานการณการปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูที่จําหนายในตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร. วารสารอาหารและยา, 30(3) : 58-69.

ประภัสสร เชาวนสกุล, ธีรพรรณ ภูมิภมร, อัญญรัตน์ ทิพย์ธารา, วันดี คงแก้ว. (2563) . ความชุกของการตรวจพบสารเร่งเนื้อแดงในฟาร์มสุกรในภาคใต้ของประเทศไทย และความสัมพันธ์กับลักษณะของฟาร์ม. วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, 14(3) : 1-9.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). ความจริงที่น่าสะพรึง! ร้านค้าเนื้อสัตว์เกือบครึ่งเคยค้าหมูเถื่อน. 18 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/local/detail/9660000027782.

. (2566). ผู้เชี่ยวชาญแนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อหมูปลอดภัย. 24 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/ onlinesection/detail/9660000107456.

พิมพมาดา คุณปลื้ม, ปรินทร ชลายนานนท์, ชยุต วงศวิชยาภรณ์, ทัพพสาร สุขสุธรรมวงศ์, นลัคสรา กันแกว, ณัฏฐ์วิทิต ไชยอรนันท์, ศุภชัย เฮงจิตตระกูล, ธิอันตรา จิระสานต์, บุญนิสา คิดมงคล, ชนาสิน คิดมงคล, ปัณณทัต อรุณพัลลภ, ศุจิมน มังคลรังษี. (2566). ความรู้และทัศนติการเลือกซื้อเนื้อหมูปลอดภัยของผู้บริโภค. วารสารอาหารและยา, 30(2) : 68-82.

มาสเตอร์ แล็บ. (2567). คู่มือชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง (Salbutamol). 20 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://drive. google.com/file/d/1QcUNXtF0YVG19rlzknLFhl9k41CJNNXZ/view.

วิเชียร ผิวคํา และ ปฏิญญา ธีระวิวัฒนกิจ. (2562). การตรวจหาสารเรงเนื้อแดงในสุกรจังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างปีงบประมาณ 2555-2559 กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. 10 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก: https://pvlo-brr.dld.go.th/ Data/doc3_290519.pdf.

สยามรัฐออนไลน์. (2566). ผู้เชี่ยวชาญ เตือน "หมูเถื่อน" อันตราย แนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อหมูปลอดภัย. 15 พฤษภาคม 2567. เข้าถึงไดจาก: https://siamrath.co.th/n/496278

สามพรานฟาร์ม. (2564). ความแตกต่างระหว่าง เนื้อหมูปลอดสาร เนื้อหมูอนามัย และเนื้อหมูเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งของสามพรานฟาร์ม. 18 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://www.samphranfarm.com/content/4267/ความแตกต่างระหว่าง-เนื้อหมูปลอดสาร-เนื้อหมูอนามัย-และ-เนื้อหมูเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งของสามพรานฟาร์ม.

อมรินทร์ ทีวี. (2566). หมูเถื่อน นำเข้าราคาถูก กินไปเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จากสารเร่งเนื้อแดง. 22 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://www.amarintv.com/news/detail/198475.

Freshket. (2567). สันในหมูอนามัย. 20 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://freshket.co/product/detail/สันในหมูอนามัย-ตราซีพี/b7e54d1f-0f3c-4616-b9aa-d0a393d6e889.

Makro. (2567). สันในหมู 1 กก. 20 พฤษภาคม 2567, เข้าถึงได้จาก : https://www.makro.pro/th/p/75361-7606385672387#.