ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง (NEMA DOA 50 WP) ควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในผักกาดหัว

Main Article Content

ปาริชาติ จำรัสศรี
อัจฉรียา นิจจรัลกุล
อิศเรส เทียนทัด
ช่ออ้อย กาฬภักดี
เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์

บทคัดย่อ

         การศึกษาการราดไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง Steinernema carpocapsae สูตรผงละลายน้ำ NEMA DOA 50 WP ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย (Phyllotreta Sinuata Stephans) ในผักกาดหัว มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราและช่วงเวลาในการใช้ NEMA DOA 50 WP ที่เหมาะสมในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในสภาพไร่ ดำเนินการทดลองในพื้นที่อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2565 ศึกษาอัตราการราด NEMA DOA 50 WP ทุก 7 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีราดอัตรา 280, 230, 180 และ 130 มิลลิกรัม/ตารางเมตร, ราดน้ำเปล่า และไม่ราดทั้ง NEMA DOA 50 WP และน้ำเปล่า ผลการทดลองหลังราด NEMA DOA 50 WP จำนวน 7 ครั้ง พบว่าอัตราการราดที่ 230 มิลลิกรัม/ตารางเมตร มีแนวโน้มในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายได้ ต่อมาในปีที่ 2 ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 นำอัตราที่ 230 มิลลิกรัม/ตารางเมตร ไปศึกษาช่วงเวลาการราด วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีราด NEMA DOA 50 WP ทุก 5, 7 และ 10 วัน ราดน้ำเปล่า และไม่ราดทั้ง NEMA DOA 50 WP และน้ำเปล่า ผลการทดลองพบว่า การราด NEMA DOA 50 WP ที่อัตรา 230 มิลลิกรัม/ตารางเมตร ทุก 5 วัน ส่งผลให้จำนวนด้วงหมัดผักแถบลายและรอยทำลายที่ผลผลิตผักกาดหัวน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในผักกาดหัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา. (2554). แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก. เอกสารวิชาการ. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

กลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8. (2548). คู่มือ โรคและแมลงศัตรูผัก โครงการเกษตรเชิงพาณิชย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : มาสเตอร์พีซแอนด์โครเชท์.

จอมสุรางค์ ดวงสนธิ, วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ, ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และจิราพร ตยุติวุฒิกุล. (2550). ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของด้วงหมัดผักแถบลายในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วิทยาสารกำแพงแสน, 5 (1) : 20-29.

ทิพย์วดี อรรถธรรม. (2546). การใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืช. ใน การควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี (หน้า 163-192). กรุงเทพมหานคร : ประทุมทอง พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และสาโรจน์ ประชาศรัยสรเดช. (2547). การใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยกำจัดแมลงศัตรูผักคะน้า. วารสารวิชาการเกษตร, 22 (2) : 145-156.

ปิยรัตน์ เขียนมีสุข, กอบเกียรติ บันสิทธิ์, นงพร กิจบำรุง, จักรพงศ์ พิริยพล, ศรีสุดา โท้ทอง, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น, ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์, อุราพร ใจเพ็ชร, ศรีจำนรรจ์ พิชิตสุวรรณชัย, สมรวย รุ่งรัตนวารี และสัจจะ ประสงค์ทรัพย์. (2542). แมลงศัตรูผักที่สำคัญบางชนิดและการป้องกันกำจัด. ใน เอกสารวิชาการแมลงศัตรูผัก (หน้า 25-63). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มณีฉัตร นิกรพันธุ์. (2545). กะหล่ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

วัชรี สมสุข. (2544). ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง Entomopathogenic Nematode for Controlling Insect Pest. ใน เอกสารวิชาการการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อการเกษตรยั่งยืน (หน้า 209-244). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วัชรี สมสุข และสุทธิชัย สมสุข. (2537). ไส้เดือนฝอยที่มีประโยชน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(2) : 11-15.

วัชรี สมสุข, พิมลพร นันทะ และเอนก บุตรรักษ์, (2537). การควบคุมหนอนกระทู้หอม Spodoptera exigua ในดาวเรืองด้วยไส้เดือนฝอย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ แมลงและสัตว์ศัตรูพืช ครั้งที่ 9 (หน้า 55-62). กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร.

วัชรี สมสุข, วินัย รัชตปกรณ์ชัย และพิมลพร นันทะ. (2535). การควบคุมด้วงหมัดผักในผักกาดหัวด้วยไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae Weiser. ใน รายงานผลการค้นคว้าและวิจัยปี 2535 (หน้า 23-30). กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืช.

วัชรี สมสุข, สุธน สุวรรณบุตร และพิมลพร นันทะ. (2534). ศึกษาการใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) ในการควบคุมด้วงงวงมันเทศในสภาพธรรมชาติ. รายงานผลวิจัยประจําปี 2534. กองกีฏและสัตววิทยา.

วัชรี สมสุข, อัจฉรา ตันติโชดก และอุทัย เกตุนุติ. (2529). ไส้เดือนฝอยควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกไม้สกุลลางสาด. วารสารกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, 8(3) : 115-119.

วิไลวรรณ เวชยันต์, สาทิพย์ มาลี และอิศเรส เทียนทัด. (2555). ทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ควบคุมด้วงหมัดผักในคะน้า. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช (หน้า 561-565). กรมวิชาการเกษตร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สาทิพย์ มาลี และวิไลวรรณ เวชยันต์. (2556). วิจัยและพัฒนาการผลิตขยายไส้เดือนฝอย Steinernema glaseri เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2556 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช (หน้า 721-731). กรมวิชาการเกษตร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, อิศเรส เทียนทัด และวิไลวรรณ เวชยันต์. (2556) การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ; Metarhizium anisopliae (Metsch) Sorokin เพื่อป้องกันกำจัดด้วงหมัดผัก ; Phyllotreta sinuata (Stephens) ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2556 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช (หน้า 693-703). กรมวิชาการเกษตร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Cabanillas, H.E. and Raulston, J.R. (1994). Pathogenicity of Steinernema riobravis Against Corn Earworm, Helicoverpa zea (Boddie). Fundamentals and Applied Nematology, 17 : 219-223.