ผลของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา Cyazofamid และ Fluazinam ต่อเชื้อรา Phytophthora sp. สาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า และผลเน่าของทุเรียนในสภาพห้องปฏิบัติการ

Main Article Content

เจตนุสรณ์ รอดศิริ
ณัฐธิดา เชียงสวน
พรประพา คงตระกูล

บทคัดย่อ

        เชื้อรา Phytophthora sp. เป็นเชื้อสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า และผลเน่า เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกทุเรียน เนื่องจากทำให้ต้นทุเรียนที่กำลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตยืนต้นตายได้ นอกจากนี้เชื้อสาเหตุโรคยังต้านทานต่อสารเคมีชนิดเดิม จึงควรศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดใหม่ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่างกันในการยับยั้งเชื้อรา Phytophthora sp. สำหรับการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมและจำแนกลักษณะสัณฐานวิทยาของเชื้อรา Phytophthora sp.  ทดสอบความสามารถในการก่อโรคบนใบทุเรียน โดยวางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) และหาค่าประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา cyazofamid (FRAC code 21)  และ fluazinam (FRAC code 29) ต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora sp. พบว่าเชื้อราสาเหตุโรคที่แยกได้ จำนวน 10 ไอโซเลท คือ M_1, M_2, M_3, Pt_, Pt_2, Ts_1, Ts_2, Ts_3, Ts_4, และ Ts_5 มีลักษณะโคโลนีแบบ stellate และ radiate เส้นใยไม่มีผนังกั้น สร้าง sporangium แบบ ovoid และ ellipsoid ที่มี papillate หรือ semi-papillate และ สร้าง chlamydospores ทรงกลม ผนังหนา ซึ่งระบุว่าเป็น Phytophthora sp.  ทุกไอโซเลท และสามารถก่อให้เกิดโรคบนใบทุเรียนได้ สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา cyazofamid และ fluazinam ที่ระดับความเข้มข้น 1, 10, และ 100 ppm พบว่า สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา cyazofamid มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา Phytophthora sp.     ทุกไอโซเลท โดยมีค่า EC50 มากกว่า 100 ppm และสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา fluazinam มีค่า EC50 เท่ากับ 12.65 - 60.22 ppm

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธิดา เดชฮวบ. (2559). สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืช. กรุงเทพฯ : เอเชีย ดิจิตอล การพิมพ์.

มณีรัตน์ คูหาพิทักษ์ธรรม. (2561). การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการเกิดโรคของเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนในประเทศไทย. จันทบุรี : สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2566. 7 เมษายน 2566, เข้าถึงได้จาก : https://www.opsmoac.go.th/chiangrai-dwl-files-442991791980.

สุมิตร คุณเจตน์. (2560). การผลิตต้นกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อลดการติดเชื้อ Phytophthora palmivora โดยวิธีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะชำด้วยระบบควบคุมฟัซซี่. จันทบุรี : คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.

อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และทวี เก่าศิริ. (2546). ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม. วารสารวิชาการเกษตร, 21(1) : 75-87.

-----------------. (2555). ผลของสารป้องกันกำจัดโรคพืช metalaxyl ต่อการเจริญของเชื้อรา Phytophthora palmivora. ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555 (หน้า 1163-1174). กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

Dib, N.D., Abdel Rahman, T.G., Ashour, A.M.A., and Badawy, H.M.A. (2017). In vitro and In vivo evaluation of certain fungicides against Phytophthora Infestans (Mont.) the causal pathogen of late blight disease on tomato. Plant Protection and Pathology, 8(5) : 201-208.

Drenth, A. and Sendall, B. (2001). Practical guide to detection and identification of Phytophthora. Tropical Plant Protection, 1 : 32-33.

Ferguson, A.J., and Jeffers, S.N. (1999). Identifying Species of Phytophthora. Plant Disease, 83 : 1129-1136.

Fungicide Resistance Action Committee. (2022). FRAC Code List 2021 : Fungal Control Agents Sorted by Cross Resistance Pattern and

Mode of Action (including FRAC Code numbering). Retrieved April 6, 2022, from https://www.frac.info/docs/default-source/publications/frac-code-list/frac-code-list-2022.

Gallegly, M.E. and Hong, C. (2008). Phytophthora : identifying species by morphology and DNA fingerprints. Phytopathology and Plant Protection, 44(2) : 202-203.

Ho, W.C. and Ko, W.H. (1997). A simple method for obtaining single spore isolate of fungi. Botanical Bulletin of Academia Sinica, 38 : 41-44.

Jeffers, S.N. and Martin, S. (1986). Comparison of two media selective of Phytophthora and Pythium species. Plant Disease, 70(11) :

-1043.

Marin, M.V., and Peres, N.A. (2021). Improving the toolbox to manage Phytophthora diseases of strawberry : Searching for chemical alternatives. Plant Health Progress, 22(3) : 294-299.

Marinho, G.J.P., Klein, D.E., Junior, C.L. (2018). Evaluation of soapberry (Sapindus saponaria L.) Leaf extract against papaya anthracnose. Summa Phytopathologica, 44(2) : 127-131.

Rekanovic, E., Potočnik, I., Milijasevic-Marcic, S., Stepanovic, M., Todorovic, B., and Mihajlovic, M. (2011). Sensitivity of Phytophthora infestans (Mont.) de Bary isolates to fluazinam, fosetyl-Al, and propamocarb-hydrochloride. Pesticide i fitomedicina, 26(2) : 111-116.

Siegenthaler, T.B., and Hansen, Z.R. (2021). Sensitivity of Phytophthora capsici from Tennessee to mefenoxam, fluopicolide, oxathiapiprolin, dimethomorph, mandipropamid, and cyazofamid. Plant Disease, 105(10) : 3000-3007.

Suksiri, S., Laipasu, P., Soytong, K., and Poeaim, S. (2018). Isolation and identification of Phytophthora sp. and Pythium sp. from durian orchard in Chumphon province, Thailand. Agricultural Technology, 14(3) : 389-402.