ผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากาแฟอราบิก้าที่ปลูกในกระถาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกในกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ๆ ละ 10 ซ้ำ ได้แก่ การใส่เชื้อราไมคอร์ไรซาในกระถางปลูกจำนวน 10, 20 และ 30 กรัมต่อกระถาง เปรียบเทียบกับไม่ใส่เชื้อราไมคอร์ไรซา บันทึกผลการเจริญเติบโตของกาแฟหลังย้ายปลูกทุก 2 สัปดาห์ จนครบ 10 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า การผสมไมคอร์ไรซาในดินปลูกไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูงต้น (P>0.05) ความกว้างทรงพุ่ม (P>0.05) และจำนวนกิ่ง (P>0.05) แต่การใส่ไมคอร์ไรซา ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง (P<0.05) เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่ากาแฟมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 6 โดยการใส่ไมคอร์ไรซาปริมาณ 10 20 และ 30 กรัม มีขนาดใหญ่สุดไม่แตกต่างกันเท่ากับ 5.70, 6.09, และ 6.15 มิลลิเมตร ตามลำดับ ขณะที่ชุดควบคุมมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเล็กที่สุด คือ 5.32 มิลลิเมตร และมีการเข้าอาศัยของเชื้อราไมคอร์ไรซาในราก 24.03, 51.67 และ 61.17 และ 1.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นที่ความเข้มข้นของเชื้อราไมคอร์ไรซาที่ 10 กรัมต่อกระถาง จึงเป็นความเข้มข้นที่ดีที่สุดในการแนะนำให้ใช้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวน. (2562). คู่มือการจัดการการผลิตกาแฟอาราบิก้า. ค้นเมื่อ 2566, 20 เมษายน จาก https://www.doa.go.th/hc/content/uploads/2021/08/การผลิตกาแฟอาราบิก้า-1.pdf
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ. ค้นเมื่อ 2565, 20 กันยายน จากhttps://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/12/กาแฟ.pdf
กรวิทย์ ฟักคง, และสมรรถชัย แย้มสะอาด. (2564). โซ่อุปทานและโอกาสทางการตลาดของอุตสาหกรรมกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟบนที่สูงของไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(1), 56-67.
ชญานุช ตรีพันธ์, บุญชนะ วงศ์ชนะ, ศุภลักษณ์ อริยภูชัย, และสุมาลี ศรีแก้ว. (2559). ผลของปุ๋ยไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของส้มโอหวานหาดใหญ่. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, ฉบับพิเศษ 3, 24-29.
ชวินทร์ ปลื้มเจริญ, พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, และธัญพิสิษฐ์ พวงจิก. (2560). ผลของเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของยางพาราในสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินที่แตกต่างกัน. วารสารของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 6(2), 102-112.
ดุสิต มานะจุติ, บุญยวาทย์ ลำเพาพงศ์, และจรูญ สุขเกษม. (2529). การประเมินศักยภาพของที่ดินที่ใช้ปลูกกาแฟในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเกษตร, 2(2), 147-162.
ธีราพร จันทร์ศรี, อัปสรสวรรค์ ใจบุญ, กีรติ ตันเรือน, พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ, รัตน์ติพร สําอางค์, รําไพ โกฎสืบ, และเรืองวุฒิ ชุติมา. (2563). การสํารวจและการแยกเชื้อราไมคอร์ไรซาจากกล้วยไม้ดินสกุล Spathoglottis ที่ปลูกในกระถาง. PSRU Journal of Science and Technology, 5(3), 127-138.
ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์, นิจพร ณ พัทลุง, ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ, พิทักษ์ พุทธวรชัย, นภา ขันสุภา, ยุทธนา เขาสุเมรุ และชิติ ศรีตนทิพย์. (2556). ผลของธาตุอาหาร การขาดน้ำ และไมคอร์ไรซา ต่อปริมาณผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตผักเชียงดา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ลำปาง.
พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์. (2556). บทบาทของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อพืช ดิน และสิ่งแวดล้อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2(2), 92-101.
เพ็ญพิชชา ชูสง่า, ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง, และอุทัยวรรณ แสงวณิช. (2560). การเพิ่มการเติบโตของกล้าไม้ต้นวงศ์ถั่วบางชนิดโดยใช้ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา. วารสารวนศาสตร์, 36(2), 1-11.
ภคพล สุราจร, พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง, ธงชัย มาลา, และศุภชัย อำคา. (2561). ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินและการเติบโตของกาแฟพันธุ์อาราบิกาด้วยเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาร่วมกับหินฟอสเฟตอัตราต่างกัน. วารสารแก่นเกษตร, 46(ฉบับพิเศษ 1), 315-321.
ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ, ภัทรกันย์ พรหมเกตุ, และสืบศักดิ์ กลิ่นสอน. (2565). วิถีการผลิตกาแฟของเกษตรกรบ้านควนขี้แรด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 17(1), 113-135.
ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์, โสพิศ อินขัติ, และสิทธิโชค ปราระมียอง. (2562). ผลของเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอไรซ่าที่มีต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตมันฝรั่งหัวพันธุ์หลัก (G0) พันธุ์แอตแลนติก. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 1(3), 41-48.
สุพิชญา เหลืองธนาวัฒน์, ธงชัย มาลา, และ ศุภชัย อำคา. (2560). ชนิดและปริมาณผงเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากาแฟโรบัสตา. วารสารดินและปุ๋ย, 39(2), 53-65.
เสริมสุข สลักเพ็ช. (2563). กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เผยแพร่ 27 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.dailynews.co.th/politics/776724
อนันต์ อิสระเสนีย์. (2556). ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟอราบิก้า. ไทยเกษตรศาสตร์. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566 จาก https://www.thaikasetsart.com/.
อาภรณ์ ธรรมเขต. (2533). สภาพแวดล้อมสำหรับการเจริญของกาแฟอาราบิก้า The Growing Environment for Arabica Coffee - A Review. กรมวิชาการเกษตร
Tas, B. (2014). Effect of the mycorrhiza application on the agronomical properties of sweet corn varieties. Research & Reviews: Journal of Agriculture and Allied Sciences, 3(2), 41-47.
Trouvelet, A., Gianinaazzi, S. and Gianinazzi-Pearson, V. (1987). Screening of VAM fungi for phosphates tolerance under simulated field conditions, pp. 39. In D.M. Sylvia, L.L. Hung and J.H. Graham., eds. Mycorrhzae in the Next Decade: Practical Applications and Research Priorities. University of Florida, America.