การพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

รัษษาภร ฉลวย
ดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สำหรับใช้ในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย สร้างตารางนัดหมายให้กับผู้ป่วยกับแพทย์ผู้ตรวจ จัดลำดับคิวในการตรวจรักษา ผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยของข้อมูล โดยอาศัยรูปแบบการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ร่วมกับ Microsoft Power Platform Office 365 ประกอบไปด้วย Power App, SharePoint, Power Automate และ Power BI ภายใต้แนวคิดการพัฒนาระบบแบบโลว์โค้ด (Low-Code)  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้งานระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ จากผู้ใช้งานของหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 20 คน และญาติผู้ป่วย จำนวน 20 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google Form


ผลการพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบว่า สามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและจัดตารางนัดหมาย บันทึกข้อมูลบุคลากรทางการแพทย์  สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ ระบบมีการส่งข้อความแจ้งเตือนคิวนัดหมายผ่านไลน์แจ้งเตือน (Line Notify) มีการสรุปรายงานต่าง ๆ ในรูปแบบแดชบอร์ด  และความพึงพอใจของการใช้งาน พบว่า ผู้ใช้งานระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุรีรัมย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รัษษาภร ฉลวย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

References

ธนพจน์ ตันติสุขุมาลย์. (2563). การพัฒนาระบบคืนสินค้าของลูกค้าโดยใช้โปรแกรม Power App [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยสยาม.

นพรัตน์ ประทุมนอก, ชัยอนันต์ กิจชัยรัตน์, สราวุฒิ อุบลหอม, และกิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(2), 17-28.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่10). บริษัท สุวีริยาสาสน์ จำกัด.

เบญจพร สัธนรักษาเวศ, และอนุชิต วู๋. (2562). การพัฒนาระบบคิวสำหรับโรงพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(2), 1-6.

พรเทพ ด่านน้อย, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, และไพศาล สิมาเลาเต่า. (2562). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 293-302). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วรนิษฐา ธรรมขัน, วราภรณ์ บุญเชียง, อักษรา ทองประชุม, และเอกรัฐ บุญเชียง. (2564). การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศการจัดการข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(2), 42-56.

วิศณุ สิทธิชัย, สุนัยนา ไชยพาน, อรบุษป์ รัตนกาญจน์, และวรรัตน์ จงไกรจักร. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับร้านเลิฟบอลลูนภูเก็ต. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ.ตรัง วิจัย ครั้งที่ 10 (น. 453–462). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, และวาสนา แก้วผนึกรังษี (2561). การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทยเพื่อนำไปสู่ Thailand 4.0 (บทความพิเศษ). วารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2561, 2(เดือนธันวาคม), 23-42.

หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลบุรีรัมย์. (2564). หน่วยไตเทียม. ใน กลุ่มงานยุทธศาสตร์ และแผนงานโครงการ (บ.ก.), โรงพยาบาลบุรีรัมย์ รายงานประจำปี 2564 (น. 337-344). โรงพยาบาลบุรีรัมย์.