การศึกษาพันธุศาสตร์ระดับเซลล์ของปลาฉลามหางไหม้อินโดนีเซีย (Burnt-Tailed Barb; Balantiocheilos melanopterus) ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ศรันย์ จำรัสธนสาร
จันทิมา ทองนรินทร์
กรรณิการ์ ทองดอนเปรียง

บทคัดย่อ

การศึกษาพันธุศาสตร์ระดับเซลล์ของปลาฉลามหางไหม้อินโดนีเซีย (Balantiocheilos melanopterus) โดยใช้ตัวอย่างปลาฉลามหางไหม้อินโดนีเซียจากร้านขายปลาสวยงามในจังหวัดบุรีรัมย์ เตรียมโครโมโซมโดยวิธีทางตรง (Direct Method) ย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดา (Conventional Staining Technique) พบว่าปลาฉลามหางไหม้มีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 50 แท่ง มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐาน (NF) เท่ากับ 76 แคริโอไทป์ประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ (Large Metacentric) จำนวน 4 แท่ง เมทาเซนทริกขนาดกลาง (Medium Submetacentric) จำนวน 4 แท่ง ซับเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ (Large Submetacentric) จำนวน 6 แท่ง  อะโครเซนทริกขนาดใหญ่ (Large Acrocentric) จำนวน 10 แท่ง  อะโครเซนทริกขนาดกลาง (Medium Acrocentric) จำนวน 2 แท่ง เทโลเซนทริกขนาดใหญ่ (Large Telocentric) จำนวน 8 แท่ง เทโลเซนทริกขนาดกลาง (Medium Telocentric) จำนวน 14 แท่ง และ เทโลเซนทริกขนาดเล็ก (Small Telocentric) จำนวน 2 แท่ง จากการศึกษาโครโมโซมในครั้งนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างโครโมโซมเพศทั้งในเพศผู้และเพศเมียของปลา


สูตรแคริโอไทป์ ดังนี้ 2n (50) = Lm4 + Lsm6 + La10 +Lt8+  Mm4 + Ma2 + Mt14 + St2

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศรันย์ จำรัสธนสาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จันทิมา ทองนรินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรรณิการ์ ทองดอนเปรียง, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

References

เกรียงไกร สีตะพันธ์. (2550). คาริโอไทป์ของปลา 6 ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae. (พิมพ์ครั้งที่ 45). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธวัช ดอนสกุล และอนันต์ พู่พิทยาสถาพร. (2545). คาริโอไทป์ของปลาวงศ์ไซไพรดินี 15 ชนิด ที่พบในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสกร แสนจันแดง. (2557). สารานุกรมปลาน้ำจืดของไทย. หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

วันเพ็ญ มีนกาญจน์. (2529). ปลาน้ำจืดไทย (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.

อมรา คัมภิรานนท์. (2546). พันธุศาสตร์ของเซลล์. ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อลงกลด แทนออมทอง. (2554). พันธุศาสตร์ระดับเซลล์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อลงกลด แทนออมทอง, กฤษณ์ ปิ่นทอง และอิสสระ ปะทะวัง. (2562). พันธุศาสตร์ระดับเซลล์.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Denton, T. E. (1973). Taxonomic implication of the karyotype of Opsopoeodus emileae. Copeia, 1, 161-163.

Khuda-Bukhsh, A. R. & Das, J. K. (2007). Cytogenetic analyses in eight species of teleostean fishes (Pisces): karyotypes, multiple Ag-NORs, sex chromosomes. Res. Rev. Bio-Sciences (India), 1, 47-52.

Ojima, Y., & Yamamoto, K. (1990). Cellular DNA contents of fishes determined by flowCytometry. La Kromosomo, 1, 1871-1888.

Magtoon, W., & Arai, R. (1989). Karyotypes of five Puntius species and one Cyclocheiliic species (Pisces, Cyprinidae) from Thailand. Bull. Sci. Mus. (Tokyo), 15, 167-175.

Taki, Y., Urushido, T., Suzuki, A., & Serizawa, C. (1977) A comparative chromosome study of Puntius (PiscesSoutheast Asian species Cyprinidae). Proc: Japan Ser., 53(6), 231–235.