คอนกรีตบล็อกแบบถอดประกอบที่มีส่วนผสมของผงถ่านที่ได้จากการเผาไม้กระถินณรงค์

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุคม ลิปิเลิศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กุลยา สาริชีวิน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สมพิศ ตันตวรนาท ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

กำลังรับแรงอัด , การดูดซับสิ่งปนเปื้อนจากน้ำเสีย , ค่าซีโอดี , ค่าของแข็งละลายน้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักแบบถอดประกอบที่มีส่วนผสมของผงถ่านซึ่งเป็นการใช้ผงถ่านที่เกิดจากการเผาไม้กระถินณรงค์ สำหรับการดูดซับสิ่งปนเปื้อนจากน้ำผิวดินที่มีการปนเปื้อนน้ำเสีย  เนื่องจากยังไม่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนสำหรับขนาดบล็อกที่ใช้ จึงใช้การทดสอบคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.58-2560 เป็นเกณฑ์มาตรฐาน โดยอัตราส่วนผสมอ้างอิงของคอนกรีตบล็อก คือ ปูนซีเมนต์ : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1 : 0.5 : 1 โดยน้ำหนัก และนำถ่านที่ร่อนแล้วมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในอัตราส่วนต่าง ๆ ได้แก่ 0.10 0.125 0.15 0.20  และ 0.25 ต่อน้ำหนักปูนซีเมนต์ การขึ้นรูปตัวอย่างทำเป็นรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตร เพื่อทดสอบหาค่าความต้านแรงอัด ความหนาแน่น ค่าการดูดกลืนน้ำ ผลการทดสอบพบว่าทั้ง 5 อัตราส่วน มีค่าความต้านทานแรงอัดอยู่ระหว่าง 5.19-8.57  เมกะพาสคัล หลังจากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นคอนกรึตบล็อกแบบถอดประกอบ ขนาด 15 x 25 x 10 เซนติเมตร นำไปแช่ในน้ำเพื่อดูดซับสิ่งสกปรกจากน้ำเสียเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยทำการวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าซีโอดี (Chemical oxygen demand, COD)  และค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total dissolved solids, TDS) ผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่าง มีค่าอยู่ในช่วง 7.54-8.10 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ส่วนซีโอดี และของแข็งละลายน้ำทั้งหมดมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มอัตราส่วนผสมของผงถ่านไม้กระถินณรงค์ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าคอนกรีตบล็อกแบบถอดประกอบที่มีส่วนผสมของผงถ่านไม้กระถินณรงค์มีน้ำหนักเบา และสามารถดูดซับสิ่งปนเปื้อนในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาคอนกรีตบล็อกต่อไปได้

References

ฐิศิรักน์ เชื้อเมืองพาน, ณัฏรี ศรีดารานนท์, และโสภา วิศิษฏ์ศักดิ์. (2565). การพัฒนาบล็อกปูพื้นทางเดินเท้าคอนกรีตพรุนจากหินกรวดและกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(1), 69–82.

พิทักษ์ อยู่มี. (2558). การเตรียมถ่านกัมมันต์ที่มีพื้นที่ผิวสูงจากผงถ่านไม้โดยการก่อกัมมันต์ทางเคมีแบบแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(4), 788–798.

พินิจภณ ปิตุยะ, และอนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์. (2560). การพัฒนาและฟื้นฟูดินทรายในเขตเงาฝนด้วยถ่านชีวภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 27–38.

ศราวุธ ปฏิญญาศักดิ์. (2560). การพัฒนาคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักโดยมีส่วนผสมของเถ้าลอย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. สืบค้นจาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutreport/bitstream/123456789/8007/2/Fulltext.pdf

อาทร ชูพลสัตย์. (2556). บล็อกประสานจากขยะคอนกรีต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/RMUTR.res.2013.10

อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช, และพินิจภณ ปิตุยะ. (2562). ไม้กระถินเหลือใช้ มวลชีวภาพ สำหรับการฟื้นฟูดินปนเปื้อน. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, 23(4), 1–9.

Kumar, M., & Gupta, T. (2023). Landslide mitigation using stone concrete blocks in retaining wall [Doctoral dissertation, Jaypee University of Information Technology, Solan, HP].

Manni, E., & Rimoldi, P. (2006). A complex segmental concrete block retaining wall structure for the reconstruction of a historical bridge. Proceedings of the 8th International Conference on Geosynthetics, Yokohama, Japan. Retrieved from International Geosynthetics Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27