การศึกษาผลกระทบของเถ้าแกลบต่อคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกดินขาวไม่รับน้ำหนัก

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา มานะโส สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
  • ประชุม คำพุฒ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
  • อรรถพล มาลัย สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

คำสำคัญ:

ดินขาว, เถ้าแกลบ, ปูนซีเมนต์, คอนกรีตบล๊อก, กำลังอัด

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาส่วนผสมของคอนกรีตบล็อกดินขาวชนิดไม่รับน้ำหนักโดยใช้เถ้าแกลบ        ซึ่งเป็นวัสดุปอซโซลานที่ได้จากโรงไฟฟ้าจังหวัดสุพรรณบุรีแทนที่ส่วนผสมที่เป็นดินขาวที่ได้จากจังหวัดระนองเพื่อลดต้นทุนและมลภาวะในการผลิตวัตถุดิบในท้องที่ ในงานวิจัยในครั้งนี้ทดสอบการแทนที่ในอัตราส่วน ร้อยละ 0, 5, 10, 15, 20 และ 25 โดยน้ำหนัก พบว่าการผสมเถ้าแกลบแทนที่ดินขาวสามารถช่วยลดความหนาแน่นของคอนกรีตบล็อกดินขาวได้ และคอนกรีตบล็อกดินขาวที่ผสมเถ้าแกลบร้อยละ 5 มีค่ากำลังอัดสูงสุดเมื่อเทียบกับคอนกรีตบล็อกดินขาวผสมเถ้าแกลบ          ที่อัตราส่วนอื่นๆ เมื่อพิจารณาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักที่พัฒนาขึ้นนี้มีคุณสมบัติ         ค่ากำลังอัด การดูดซึมน้ำ และการเปลี่ยนแปลงความยาวผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน มอก.58-2560 คือคอนกรีตบล็อกดินขาวผสมเถ้าแกลบที่อัตราส่วนร้อยละ 0, 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก การวิจัยชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการปรับปรุงวัสดุก่อสร้าง      ที่สามารถลดต้นทุน มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

References

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2558). เถ้าจากโรงงานอุตสาหกรรม : วัสดุปอซโซลานที่ดีสำหรับงานคอนกรีต. วารสารคอนกรีต, 9.

ณุกร พยัคฆพงษ์, ธีรเดช วงศ์พินิตวัฒนา, วรณ พัตภักดิ์ และวิทยา ปิยะวงศ์. (2548). การศึกษากำลังอัดของคอนกรีตผสมดินขาวเผาหรือเถ้าแกลบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรยง แบบประเสริฐ. (2536). ดินขาวและประโยชน์. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 41(133), 9-11.

ประชุม คำพุฒ, สมเกียรติ รุ่งทองใบสุรีย์ และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2552). คอนกรีตบล็อกโดยใช้ดินขาวจากจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นส่วนผสม. รายงานการประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 5 (หน้า MAT 226-231). สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย.

วันโชค เครือหงษ์, เผดิมชัย ชื่นตา, ธีรวัฒน์ สินศิริ และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2552). ปฏิกิริยาปอซโซลานของเถ้าแกลบและเถ้าปาล์มน้ำมันต่อโครงสร้างขนาดเล็กของซีเมนต์เพสต์ผสม. รายงานการประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 5 (หน้า MAT 136-143). สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. (2517). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีชักตัวอย่างและการทดสอบวัสดุงานก่อซึ่งทำด้วยคอนกรีต (มอก.109-2517). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. (2560). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกแบบไม่รับน้ำหนัก (มอก. 58-2560). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

Cook, D. J., Pama, R. P., & Paul, B. K. (1977). Rice husk ash-lime-cement mixes for use in masonry units. Building and Environment, 12(4), 281-288. https://doi.org/10.1016/0360-1323(77)90031-2

Padhi, R. S., Patra, R. K., Mukharjee, B. B., & Dey, T. (2018). Influence of incorporation of rice husk ash and coarse recycled concrete aggregates on properties of concrete. Construction and Building Materials, 173, 289-297. https://doi.org/10.1016/J.CONBUILDMAT.2018.11.138

Prasara-A, J., & Gheewala, S. H. (2017). Sustainable utilization of rice husk ash from power plants: A review. Journal of cleaner production, 167, https://doi.org/1020-1028. 10.1016/J.JCLEPRO.2016.11.042

Rahman, M. A. (1987). Use of rice husk ash in sandcrete blocks for masonry units. Materials and Structures, 20, 361-366. https://doi.org/10.1007/BF02472582

Salas, J., Alvarez, M., & Veras, J. (1987). Rice husk and fly ash concrete blocks. International Journal of Cement Composites and Lightweight Concrete, 9(3), 177-182. https://doi.org/10.1016/0262-5075(87)90051-0

-5075(87)90051-0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-10