การศึกษาการใช้คอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเถ้าชานอ้อยแทนวัสดุชั้นทางเพื่อเพิ่มเสถียรภาพลาดดิน : กรณีศึกษาซอยปู่เส็งเจริญสุข

ผู้แต่ง

  • พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อ.พังโคน จ.สกลนคร
  • อรรถพล มาลัย สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
  • ประชุม คำพุฒ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

คำสำคัญ:

ไฟไนต์อิลิเมนต์, เสถียรภาพลาดดิน, คอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า, เถ้าชานอ้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาถนนแทนที่ชั้นทางด้วยคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าผสมเถ้าชานอ้อย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ถูกแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยในสัดส่วนร้อยละ 0-40 โดยน้ำหนักของซีเมนต์และศึกษาส่วนผสม วัสดุประสาน ต่อ ทราย ในอัตรา 1:0.5, 1:1, 1:1.5 และ 1:2 จากนั้นหล่อมอร์ตาร์เพื่อทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดและคัดเลือกสัดส่วนเหมาะสมในการขึ้นรูปคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าโดยพิจารณาจากกำลังต้านทานแรงอัดและการเตรียมวัสดุ ในการวิจัยได้จำลองเพื่อตรวจสอบเสถียรภาพถนนแปลงทดลองความสูง 1.5 เมตร การจำลองจะที่แทนที่ชั้นทางด้วยคอนกรีตมวลเบาดังกล่าวและจำลองกรณีการสูญเสียแรงดันน้ำข้างถนนฉับพลันทั้งแบบมีและไม่มีการสัญจรบนถนนขนาด 6.0 กิโลปาสคาล ประมวลผลด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์โดยใช้แบบจำลองซอฟซอยและแบบจำลองมอร์-คูลอมบ์การวิจัยพบว่าแปลงทดลองมีเสถียรภาพลาดดินต่ำหากสูญเสียน้ำด้านข้างอย่างรวดเร็วและมีน้ำหนักกดทับจากการสัญจร แต่เมื่อแทนที่ดินบดอัดด้วยคอนกรีตมวลเบาจะเพิ่มเสถียรภาพลาดดินโดยมีอัตราส่วนความปลอดภัยมากกว่า 1.3 และเป็นไปตามเกณฑ์ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้

References

สำเริง รักซ้อน, ฉัตรชัย เธียรหิรัญ, & นิโรจน์ เงินพรหม. (2551). การใช้เถ้าทิ้งจากผลผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเป็นวัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์. ทุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 118 หน้า.

Andreão, P. V., Suleiman, A. R., Cordeiro, G. C., & Nehdi, M. L. (2019). Sustainable use of sugarcane bagasse ash in cement-based materials. Green Materials, 7(2), 61-70. https://doi.org/10.1680/JGRMA.18.00016

ASTM International. (2005). ASTM C136: Standard Test Method for Sieve Analysis of Fine and Coarse Aggregates. Annual Book of ASTM Standards, 04.02, 88-92. https://doi.org/10.1520/C0136-06

ASTM International. (2017). ASTM C796-97: Standard Test Method for Foaming Agents for Use in Producing Cellular Concrete Using Preformed Foam. Annual Book of ASTM Standards, 04.02. https://doi.org/10.1520/C0796-97

Brindhalakshmi, M. L., Kayalvizhi, T., & Gunasekar, S. (2019). Potential utilization of sugarcane bagasse ash (SCBA) in concrete–an experimental review. International Research Journal of Multidisciplinary Technovation, 1(6), 475-479. https://doi.org/10.34256/irjmtcon67

Dawson, E., Motamed, F., Nesarajah, S., & Roth, W. (2000). Geotechnical stability analysis by strength reduction. In Slope Stability 2000 (pp. 99-113). https://doi.org/10.1061/40512(289)8

Farah, K., Ltifi, M., & Hassis, H. (2011). Reliability analysis of slope stability using stochastic finite element method. Procedia Engineering, 10, 1402-1407. https://doi.org/10.1016/j.proeng.2011.04.233

Janghathaikul, D., & Gheewala, S. H. (2006). Bagasse-A sustainable energy resource from sugar mills. Asian Journal on Energy and Environment, 7(3), 356-366.

Rukzon, S., & Chindaprasirt, P. (2012). Use of bagasse ash in high-strength concrete. Materials and Design, 34, 45-50.

Zareei, S. A., Ameri, F., & Bahrami, N. (2018). Microstructure, strength, and durability of eco-friendly concretes containing sugarcane bagasse ash. Construction and Building Materials, 184, 258-268. https://doi.org/10.1016/J.CONBUILDMAT.2018.06.153

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27