การสำรวจทำแผนที่ด้วยไลดาร์ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน กรณีศึกษาพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

การสำรวจทำแผนที่ด้วยไลดาร์ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน กรณีศึกษาพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภุชงค์ วงศ์เกิด มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สาขาวิศวกรรมสำรวจ ต.สระลงเรือ อ. ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170
  • สำเนียง สุตระ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สาขาวิศวกรรมสำรวจ ต.สระลงเรือ อ. ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170
  • รณชัย อยู่เย็น มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สาขาวิศวกรรมสำรวจ ต.สระลงเรือ อ. ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170
  • ธนะพัฒน์ วิริต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ต.สระลงเรือ อ. ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170
  • กิตติศักดิ์ ฤาแรง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สาขาวิศวกรรมสำรวจ ต.สระลงเรือ อ. ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170

คำสำคัญ:

อากาศยานไร้คน, การบินแบบอัตโนมัติ, แผนที่ภูมิประเทศ, โปรแกรม PILOT

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสำรวจทำแผนที่ด้วย LiDAR ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน (UAV) แล้วนำผลที่ได้มาสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศแบบต่างๆ ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อใช้ในการออกแบบการประมาณราคาค่าก่อสร้าง รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จาก LiDAR พื้นที่ที่ทำการศึกษาคือบริเวณเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวนพื้นที่ศึกษาจำนวน 3000 ไร่ การบินสำรวจทำแผนที่ด้วย LiDAR ใช้ LiDAR ยี่ห้อ Yellow Scan รุ่น Mapper ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน (UAV) ยี่ห้อ DJI รุ่น Matrice 300 RTK ด้วยโปรแกรม PILOT การทำงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่1 เป็นการทำงานของอากาศยานไร้คน (UAV) ติดตั้ง LiDAR จะทำการบินแบบอัตโนมัติตามที่ได้ออกแบบไว้ และส่วนที่2 เป็นส่วนของการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม Yellow Scan Cloud Station ผลการศึกษาพบว่า การสำรวจทำแผนที่ด้วย LiDAR ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน (UAV) สามารถให้ข้อมูลภูมิประเทศ ที่มีความละเอียดถูกต้องแม่นยำสูง และสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ใช้คนปฏิบัติงานน้อยกว่าวิธีเดิมมาก ซึ่งข้อมูลที่ได้จำนำมาตรวจสอบความถูกต้องทางดิ่งกับจุดอ้างอิงบนพื้นดิน ณ จุดพิกัดทางราบเดียวกันได้ค่าความต่างเฉลี่ย ไม่เกิน 5 เซนติเมตร

References

กนก วีรวงศ์. (2564). เอกสารคำสอนวิชา 2108627 Geoimage Processing การประมวลผลภาพเชิงภูมิศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรีฑา สุวรรณสะอาด. (2553). การปรับแก้ข้อมูลไลดาร์ระหว่างแนวบินโดยอาศัยจุดควบคุมจากภาพถ่ายทางอากาศ [วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ThaiLIS. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30675

จนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล, วิลาสลักษณ์ วงศ์เยาว์ฟ้า, และ สุกิจ วิเศษสินธุ์. (2550). การวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมด้วย LIDAR: ข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขความละเอียดสูง. บริษัท ESRI (ประเทศไทย) จำกัด.

ธุวชิต แฉล้มเขตต์. (2554). การศึกษาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกราฟเพื่อใช้ในการดึงข้อมูลลักษณะวัตถุจากข้อมูลไลดาร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ThaiLIS. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61057

ไพศาล สันติธรรมนนท์. (2553). การรังวัดด้วยภาพดิจิทัล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพฤทธิ์ ศรีรัฐณไพศาล. (2563). การสำรวจความสูงภูมิประเทศด้วยแสงเลเซอร์ (LiDAR). วารสารแผนที่ (Royal Thai Survey Department Journal), 40(1), 12–28.

Aguilera, D. G., Matellán, E. C., López, D. H., & Gonzálvez, P. R. (2013). Automated urban analysis based on LiDAR-derived building models. IEEE Transactions on Geoscience and Remote Sensing, 51(3), 1844–1851. https://doi.org/10.1109/TGRS.2012.2205931

ASPRS. (2014). Introduction to lasers and lidar. Retrieved November 15, 2016, from https://www.e-education.psu.edu/geog481/l1_p3.html

Baltsavias, E. (2008, March 31–April 4). Introduction to airborne LiDAR and physical principles of LiDAR technology (Lectures 1 and 5). Retrieved November 15, 2016, from http://home.iitk.ac.in/~blohani/LiDARSchool2008/Downloads/Kanpur-Baltsavias.pdf

Harrap, R., & Lato, M. (2016). An overview of LIDAR for urban applications. Queen’s University.

Chen, Z., Li, J., & Yang, B. (2021). A strip adjustment method of UAV-borne LiDAR point cloud based on DEM features for mountainous area. Sensors, 21(8), Article 2782. https://doi.org/10.3390/s21082782

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27