การศึกษาการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติสำหรับอาคารพักอาศัย ด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร กรณีศึกษาแบบบ้านเพกา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติของอาคารพักอาศัย โดยนำการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบและการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานในงานออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งในและต่างประเทศมาช่วยในการสร้างแบบจำลอง เพื่อนำไปวิเคราะห์ลักษณะการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติจากช่องเปิดที่ได้ถูกออกแบบไว้ของอาคาร โดยการส่งต่อแบบจำลองสารสนเทศอาคารไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics, CFD) โดยเลือกใช้กรณีศึกษาแบบบ้านเพกาของกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยใช้สถิติความเร็วลมเฉลี่ยในจังหวัดพิษณุโลกที่ 1.17 เมตรต่อวินาที และใช้ทิศทางลมประจำตะวันออกเฉียงใต้ (SW) โดยทดสอบการหันหน้าบ้านทั้งหมด 8 ทิศทาง สำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกทิศทางการหันหน้าบ้านเมื่อนำแบบบ้านไปใช้ในอนาคต จากการทดสอบพบว่าเมื่อหันหน้าบ้านเข้าหาทิศตะวันตก (W) ซึ่งเป็นการหันมุมอาคารเข้าหาทิศลมตะวันตกเฉียงใต้ (SW) จะเป็นทิศทางที่มีศักยภาพในการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติดีที่สุด ทำให้เพิ่มโอกาสในการรับลมจากช่องเปิดทั้งสองด้านมีพื้นที่การระบายอากาศเฉลี่ยของแปลนชั้น 1 เท่ากับ 45.89% และแปลนชั้น 2 เท่ากับ 44.68% ทำให้มีค่าเฉลี่ยรวม 45.29% ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในการทดสอบทั้ง 8 ทิศทาง รวมถึงมีความเร็วลมเฉลี่ย 1.1 เมตรต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ที่รู้สึกสบายและไม่พบพื้นที่ที่ความเร็วลมเกิน 1.50 เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้รู้สึกถูกรบกวน อีกทั้งยังพบความเร็วลมเฉลี่ยภายในอาคารสูงกว่าภายนอกอาคารบริเวณที่มีผนัง ดักลมติดกับช่องเปิดอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2565). ตารางการบันทึกความเร็วลมเฉลี่ยและทิศทางลมเดือนมกราคม พ.ศ. 2560-2562 แต่ละภาค ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมอุตุนิยมวิทยา.
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2565). สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2494-2565ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมอุตุนิยมวิทยา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). ผู้ใช้ไฟฟ้าและการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้เป็นรายอำเภอ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2565. สืบค้น 7 มีนาคม 2565,
จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/index
มาลินี ศรีสุวรรณ. (2544). การศึกษาความสัมพันธ์ของทิศทางกระแสลมกับการเจาะช่องเปิดที่ผนังอาคารสำหรับภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 17, 152-168.
สุดาภรณ์ ฉุ้งลู้. (2555). การจำลองเชิงตัวเลขเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อนแบบบังคับภายใต้กระแสลมหมุนบนหลังคาอาคารเตี้ยที่มีอุปกรณ์บังแดด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง.
อุมาพร จันธิมา. (2559). การศึกษาศักยภาพการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติจากช่องเปิดของอาคารพักอาศัย: กรณีศึกษาแบบบ้านเพื่อประชาชนของกรมโยธาธิการและผังเมือง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
Givoni, B. (1969). Man, climate and architecture. New York: Elsevier.
Helmut, E. L., (1981). The urban climate. New York: Academic Press.
Leamsaard, J. and Fuangpain, T. (2015). Automated Optical Inspection for Solder Jet Ball Joint Defects in the Head Gimbal Assembly Process. New York: John Wiley & Sons, Inc.