แนวทางการจัดการพลังงานทดแทนของจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

วิษณุ บัวเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการจัดการพลังงานทดแทนของจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประชาชนในชุมชนท้องถิ่น จำนวน 330 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง.และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการจัดการพลังงานทดแทนของจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน เพื่อยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย และประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการจัดการพลังงานทดแทนของจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของข้อเสนอเชิงนโยบาย จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการจัดการพลังงานทดแทนของจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 11 ข้อ ได้แก่ 1) ให้ความรู้แก่ชุมชนด้านนโยบายพลังงาน และยุทธศาสตร์พลังงานประเทศ 2) พัฒนาสูตรด้านการจัดการพลังงานทดแทนร่วมกันระหว่างชุมชน สถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน 3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนแต่ละพื้นที่มีการใช้ และมีการแปรูปวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อนำมาการใช้เป็นพลังงานทดแทน 4) จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนให้มีความเหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่ 5) สร้างนักวิจัยในพื้นที่เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมกับความสามารถการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน รวมกับสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ 6) ให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการพลังงานทดแทน 7) สร้างจิตสำนึกให้กับชุมชนเพื่อให้เกิดความตระหนักในการใช้พลังงานทดแทน 8) สนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามนโยบายพลังงานทดแทนของจังหวัดในทุกขั้นตอน 9) พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านพลังงานทดแทนให้มีประสิทธิภาพ 10) กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง และ 11) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายด้านพลังงานทดแทนกับหน่วยงานต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุมพล พูลภัทรชีวิน และคนอื่นๆ. (2553). เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบเดลฟาย. กรุงเทพฯ: เจริญผล.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทวีวรรณ อินดา. (2552). การพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). Modern Management การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

บุญพิทักษ์ คงเขียว. (2557). ยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียวจังหวัดสิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พสุ เตชะรินทร์. (2551). หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิชั่นพริ้น แอนด์มีเดีย.

วิสาขา ภู่จินดา. (2555). การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงานใช้ในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิษณุ บัวเทศ และคณะ. (2559). การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2551). หลักการและแนวทางในการวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐ ในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี๊.

สมคิด บางโม. (2558). องค์กรและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2552). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2553). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน. (2555). ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานปี (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Drucker, P. F. (2005). The Practice of Management. 10 East, 53rd, Street, New York, NY 10022.