ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเรื่องการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตผล (GAP, มกษ. 1003-2555) ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ธนกิจ ถาหมี
ธนพร ศิลปชัย
เสาวนีย์ มีทรัพย์
กรรณิกา สนธิ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันในเขตภาคเหนือมีการส่งเสริมการการปลูกหม่อนเพื่อผลิตผลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีการผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยกับผู้บริโภค จึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตผล (มกษ. 1003-2555) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตที่ไม่ได้มีการบังคับใช้จึงทำให้มีเกษตรกรบางส่วนไม่มีการนำไปปฏิบัติ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงสภาพการปลูกหม่อนผลสดในเขตภาคเหนือ (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเรื่องการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตผล (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนสดในเขตภาคเหนือ จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ในปี 2561 จำนวน 412 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับยอมรับมาตรฐานการเกษตรที่ดีสำหรับการหม่อนเพื่อผลิตผล พบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวน 9 ปัจจัย ได้แก่ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาหรือระดับการศึกษา การพบกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การมีแหล่งรับซื้อที่ชัดเจน จำนวนพื้นที่ปลูกหม่อนร่วม การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับกับการเกษตรและมาตรฐาน การได้รับข่าวสาร และระดับปัญหาการผลิตหม่อน สำหรับปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกร พบว่า มีปัญหาด้านการตลาดอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะของเกษตรคือ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลด้านการตลาดให้มากขึ้น โดยการหาแหล่งรับซื้อที่แน่นอนให้กับเกษตรกรและมีการกำหนดราคาที่เหมาะสม รวมไปถึงส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนเรื่องการเก็บรักษาผลหม่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ จันทอง, และพหล ศักดิ์คะทัศน์. (2559). การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรทีดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร, 32(1), 19-27.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พิสิทธิ์ เข้มมี. (2555). การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาโยนของเกษตรกรในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุทธพล ทองปรีชา, และดุษฎี ณ ลำปาง. (2554). ความรู้ ทัศคติและการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกรอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารเกษตร, 27(1), 1-10.

วิวัฒน์ ภู่พร้อม, และศิริวรรณ แดงฉ่ำ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกผักใน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน การประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร ครั้งที่ 1. (น. 1-11). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมบัติ กองภา, จิราลักษณ์ ปรีดี, ขนิษฐา เกลาเกลี้ยง, และชาติ ศรีแสง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร (รายงานวิจัย).กรุงเทพฯ: กรมหม่อนไหม.

สหภาพ ไตรยวงค์, สมใจ ภูมิพันธุ์, และ ไพศาล แน่นอุดร. (2560). การยอมรับการปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 230-238.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2555). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตผล. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 จังหวัดแพร่. (2560). รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 จังหวัดแพร่ ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: กรมหม่อนไหมฯ.

อนุวัฒน์ รัตนชัย, ธนัญญา วสุศรี, วาริช ศรีละออง, กฤติกา ตันประเสริฐ, และศิริชัย กัลยาณรัตน์. (2553). การวิเคราะห์โลจิสติกส์ขาเข้าของข้าวโพดฝักอ่อนในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 41(พิเศษ), 179-183.

อินตา จันทะวง, พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์, และนคเรศ รังควัต. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรอำเภอจำพอนจังหวัดสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(2), 106-117.

Akudugu, M. A., Guo, E., and Dadzie, S. K. (2012). Adoption of modern agricultural production technologies by farm households in Ghana: what factors influence their decisions?. Journal of Biology, Agriculture and Healthcare, 2(3), 1-14.

Hill, R. C., Griffiths, W. E., and Lim, G. C. (2007). Principles of Econometrics (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.