การปรับปรุงการเดินเอกสารงานวิจัย โดยใช้แนวคิดลีน กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ณัฐชา ฮุนพานิช
ภาณุ บูรณจารุกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากความสูญเปล่าในกระบวนการในการเดินเอกสารงานวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  และเสนอแนะการปรับปรุงขั้นตอนการเดินเอกสารงานวิจัยดังกล่าว โดยใช้แนวคิดลีน จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยของคณะฯ ประกอบด้วย เอกสารสองประเภทหลัก อันได้แก่ เอกสารประชาสัมพันธ์ และเอกสารด่วน (เอกสารด่วนมากและเอกสารด่วนที่สุด) ผลจากการวิเคราะห์ปัญหาความสูญเปล่า 7 ประการ พบว่า ความสูญเปล่าเกิดขึ้นจากการรอคอย การทำงานที่ไม่เหมาะสม และของเสีย ในขั้นตอนการเดินเอกสารงานวิจัย จากปัญหาดังกล่าว หลักการ ECRS ได้ถูกเสนอแนะเป็นแนวทางในการปรับปรุงตามแนวคิดลีน ซึ่งประกอบด้วย การกำจัด การรวมกัน การจัดใหม่ และ การทำให้ง่าย จากการปรับปรุงการเดินเอกสารงานวิจัยที่ได้เสนอแนะนั้น จะสามารถลดขั้นตอนการเดินเอกสารประชาสัมพันธ์ เอกสารด่วนมาก เอกสารด่วนที่สุด ได้ 20% 5.88% และ 18.75% ตามลำดับ และลดเวลาการเดินเอกสารประชาสัมพันธ์ เอกสารด่วนมาก และเอกสารด่วนที่สุด ได้ 37.14% 21.04% และ 34.59% ตามลำดับ                 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ สงวนสิริกุล. (2550). แนวทางการลดขั้นตอนกระบวนการทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกศล ดีศีลธรรม. (2559). วิถีไคเซ็นสู่ผลิตภาพลีน ตอนที่ 1 สำนักงานยุคดิจิทัล. วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี, 43(249), 11-13.

ประเสริฐ อัครประถมพงศ์. (2552). การลดความสูญเปล่า ด้วยหลักการ ECRS. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563, จาก https://cpico.wordpress.com/2009/11/29

มารวย ส่งทานินทร์. (2557). การนำแนวคิดเรื่อง Lean มาใช้ในสำนักงาน (Lean Office Demystified). สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/579791