การสำรวจและออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลาย

Main Article Content

ปกรณ์ เข็มมงคล
ธีรศักดิ์ อุปการ
รัชดา คำจริง
ครรชิต พิระภาค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการศึกษาการสำรวจและออกแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลาย โดยการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ และพัฒนากรอบการวิเคราะห์เพื่อเข้าใจปัญหาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ด้วยวิธีการสำรวจข้อมูลภูมิประเทศ สภาพพื้นที่การออกแบบ และพื้นที่โดยรอบ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้ประโยชน์จาก โคก หนอง นา โมเดล สามารถดำเนินการได้บนพื้นที่ ซึ่งมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยไม่ส่งผลกระทบกับกิจกรรมเดิม อีกทั้งยังทำให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีกับพื้นที่โครงการและพื้นที่โดยรอบ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างละเอียดด้วยการสำรวจภาคพื้นและภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อสร้างแผนที่ภูมิประเทศ 3 มิติ โดยมีค่าระดับทั้งแนวราบและแนวดิ่ง 2) วิเคราะห์หาศักยภาพของพื้นที่ โดยการกำหนดขอบเขตกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งมีอยู่เดิมให้ใช้พื้นที่น้อยที่สุดเท่าที่จะไม่กระทบกับการดำเนินกิจการดังกล่าว จากนั้นพิจารณาจัดพื้นที่เป็น โคก หนอง และนา จากข้อมูลเส้นชั้นความสูง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่จากเดิมมากนัก ทั้งนี้เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมและความประหยัด 3) ออกแบบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งประกอบไปด้วย 3.1 การใช้ประโยชน์จากโคกด้วยการปลูกพืชเศษฐกิจที่รักษาความชุ่มชื้นของดิน 3.2 การขุดหนองซึ่งทำบนเส้นชั้นความสูงต่ำสุดของพื้นที่แต่ละส่วน เชื่อมแต่ละหนองด้วยคลองส่งน้ำและประตูน้ำขนาดเล็ก 3.3 การทำแปลงนาอินทรีย์อาจขึ้นคันนาด้วยรูปร่างไม่จำกัด แต่การทำเป็นรูปร่างใกล้เคียงกับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะทำให้บริหารจัดการแปลงได้ง่าย มีการมูลดินรอบแปลงนาและปลูกไม้ยืนต้นป้องกันละอองสารเคมียาปราบศัตรูพืชจากที่ข้างเคียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเทคโนโลยีทำแผนที่ กรมที่ดิน. (ม.ป.ป.). นวัตกรรมการรังวัดรูปแปลงที่ดินด้วยระบบดาวเทียม RTK GNSS Network. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dol-rtknetwork.com/

ณิชาพัฒน์ เพิ่มทองอินทร์. (2564). จากศาสตร์พระราชา สู่โคก หนอง นา “อารยเกษตร” ไทย. วารสารทหารพัฒนา, 45(2). 1-28.

ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ, และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2553). ผลกระทบของการดาเนินนโยบายพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรีต่อประชาชนตาบลบ้านเก่า. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(18), 72-90.

มาริษา ศรีษะแก้ว, สถาพร วิชัยรัมย์, และสากล พรหมสถิตย์. (2563). ศาสตร์พระราชา : เกษตรทฤษฎีใหม่ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 31-40.

สถาบันการพัฒนาชุมชน. (2563). คู่มือวิทยากร โครงการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน, กระทรวงมหาดไทย.

Ruzgiene, B., Berteška, T., Gečyte, S., Jakubauskiene, E., & Aksamitauskas, V. Č. (2015). The surface modelling based on UAV Photogrammetry and qualitative estimation. Measurement, 73, 619-627.

Sunantyo, A., Siswosukarto, S., Yulistiyanto, B., & Projitno. (2014, 13-14 August ). Digital Elevation Model generated by unmanned aerial vehicle to determine available head assessment for micro hydro power plant in Merawu river, Banjarnegara distric, Central Java. Paper presented at the International Energy Conference, Yogyakarta, Indonesia.