การออกแบบโรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติ

Main Article Content

อำนาจ ตงติ๊บ
ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ
พงษ์ธร วิจิตรกูล
ยสินทินี เอมหยวก
อนุชา ริกากรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างโรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติ และทดสอบระบบควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในการปลูกผัก โดยในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบการทดลองเปรียบเทียบการปลูกพืชทดลอง (ผักกรีนคอส) ในโรงเรือนด้วยระบบอัตโนมัติ และนอกโรงเรือนแบบทั่วไปโดยการเติมปุ๋ยน้ำด้วยการวัดค่าการนำไฟฟ้าในสารละลาย (Electrical Conductivity, EC) และค่าความเป็นกรดด่าง (pH) และควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม การทดลองใช้เวลา 45 วัน โดยแบ่งเป็นช่วงเพาะเมล็ดในถาดปลูก 7-14 วัน จากนั้นจึงย้ายไปปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ในราง ผลที่ได้พบว่า การปลูกพืชทดลองในโรงเรือนมีค่า EC, pH, อุณหภูมิและความชื้นอยู่ที่ 1.3-1.4 mS/cm, 5.5-7.0, 28 - 33 ºC และ 60-80 %RH ตามลำดับ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นอยู่ที่ 0.1767 และอัตราการงอกของใบอยู่ที่ 0.6566 และเมื่อนำไปเทียบกับผลการทดลองกับการปลูกพืชทดลองภายนอกโรงเรือนที่มีอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นอยู่ที่ 0.0899 และอัตราการงอกของใบอยู่ที่ 0.4691 พบว่า พืชที่ปลูกในโรงเรือนมีอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นที่ดีกว่า 96% และมีอัตราการงอกของจำนวนใบที่ดีกว่า 28.88%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รัฐศิลป์ รานอกภานุวัชร์. (2561). ระบบควบคุมโรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยี IoT และเครื่องมือการเรียนรู้เชิงลึก. Journal of Information Science and Technology, 8(2), 74-82.

รัตติกานต์ วิบูลย์พานิช. (2560). การออกแบบตัวต้นแบบระบบโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่ง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ศุภฤกษ์ เชาวลิตตระกูล. (2560). ระบบปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สกรณ์ บุษบง, วราวุธ จอสูงเนิน, และอมรเพชร ตลับทอง. (2563). การพัฒนาระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยสมองกลฝังตัวผ่าน NETPIE. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 61-71.

Al-Ali, A. R., Al Nabulsi, A., Mukhopadhyay, S., Awal, M.S., Fernandes, S. and Ailabouni, K. (2019). IoT-solar energy powered smart farm irrigation system. Journal of Electronic Science and Technology, 17(4). 100017.

Lin, X., Sun, X., Manogaran, G. and S. Rawal, B. (2021). Advanced energy consumption system for smart farm based on reactive energy utilization technologies. Environmental Impact Assessment Review, 86, 2021, 106496.

Muangprathub, J., Boonnam, N., Kajornkasirat, S., Lekbangpong, N., Wanichsombat, A. and Nillaor, P. (2019). IoT and agriculture data analysis for smart farm. Computers and Electronics in Agriculture, 156, 2018, 467-474.

Pitakphongmetha, J., Boonnam, N., Wongkoon, S., Horanont, T., Somkiadcharoen, D. and Prapakornpilai, J. (2016). Internet of Things for Planting in Smart Farm Hydroponics Style. in 2016 International Computer Science and Engineering Conference (ICSEC). (pp.1-5). Chiang Mai, Thailand.