การศึกษาปัญหาและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการทางวิศวกรรม แบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

ภาณุ บูรณจารุกร
เสาวลักษณ์ ตองกลิ่น
ศิษฎา สิมารักษ์
กวิน สนธิเพิ่มพูน
เกตุชนา บุญฤทธิ์
อิสริยพร หลวงหาญ
กณพ วัฒนา

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 และได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด หนึ่งในมาตรการเพื่อปรับตัวสู่วิถีใหม่คือ การทำงานผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ภาคการศึกษาได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนมาเป็นผ่านระบบออนไลน์ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยเฉพาะการสอนปฏิบัติการทางวิศวกรรม ซึ่งแตกต่างจากการสอนในห้องเรียนปกติ โดยใช้นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นกรณีศึกษา การวิจัยใช้สำรวจแบบสอบถาม กับนิสิตจำนวนทั้งสิ้น 184 คน ผลวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์นั้นมีทั้งปัญหาจากปัจจัยผู้เรียน ปัจจัยผู้สอน ปัจจัยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ จากมหาวิทยาลัย ซึ่งมีผลทำให้ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดเรียนการสอน โดยปัญหาในระดับมากที่มาจาก (1) ปัจจัยผู้เรียน ได้แก่ การให้ภาระงานนิสิตที่ไม่เหมาะสมทำให้นิสิตส่งงานไม่ทัน สภาพแวดล้อมที่พักนิสิตไม่เอื้อต่อการเรียน และการขาดปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระว่างผู้เรียนกับผู้สอน และปัญหาจาก (2) ปัจจัยผู้สอน ได้แก่ รูปแบบการสอนที่ไม่เหมาะสม และการขาดกิจกรรมเสริมในภาคปฏิบัติ งานวิจัยนี้ได้รวบรวมข้อคิดเห็นจากเอกสารและอาจารย์ และนำมาเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการทางวิศวกรรมออนไลน์เพื่อให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาและทดลองใช้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2563, 23 มีนาคม). ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคการศึกษา. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้น 23 มีนาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872053

ครูบ้านนอก.คอม. (2552). ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom). สืบค้น 23 มีนาคม 2563, จาก https://www.kroobannok.com/24048

ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล. การเรียนการสอน Online ของวิศวะ "จะเป็นอย่างไร" ผศ.ดร.ชลธิศ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีคำตอบ?. สืบค้น 23 มีนาคม 2563, จาก https://www.spu.ac.th /activities/26074?fbclid=IwAR1jJMPklDWMNyRHhZZFEDXtFUFqZW_lRjRZrujkXACOMCXI

P9YUmvlXsA

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 35-43.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). มาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกล. สืบค้น 23 มกราคม 2564, จาก https://www.spmnonthaburi.go.th/main/news/5270.html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). “รมว.ศธ.” ร่วมระดมสมองกูรูการศึกษา ฝ่าวิกฤติการศึกษาช่วงโควิด-19. สืบค้น 23 มกราคม 2564, จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3446-19-2.html

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

อาคม ลักษณะสกุล, พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, และมงคล หวังสถิตย์วงษ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางวิศวกรรม กรณีศึกษาเรื่องการควบคุมแบบออโตจูน. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 13(1), 14-27.

BrandInside Admin. (2564). อุปกรณ์ไม่พร้อม เวลาไม่มี รูปแบบไม่ได้ อุปสรรคเรียนออนไลน์ ยุคโควิดระบาดที่ต้องเร่งแก้ไข. สืบค้น 23 มกราคม 2564, จาก https://brandinside.asia/e-learning-challenge-in-covid

Namprom, T. (2020). Virtual Education… การศึกษาบนโลกเสมือนจริง. สืบค้น 23 มกราคม 2564, จาก https://reder.red/virtual-education-16-03-2020

The Bangkok Insight Editorial Team. (2564). อัพเดทสถานการณ์ ‘โควิด’ วันที่ 23 มกราคม 2564. สืบค้น 23 มกราคม 2564, จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/535278/

Almendingen, K., Morseth, M.S., Gjølstad, E., Brevik, A., and Tørris, C. (2021). Student's experiences with online teaching following COVID-19 lockdown: A mixed methods explorative study. PLoS One, 16(8). e0250378.

Bataineh, K. B., Atoum, M. S., Alsmadi, L. A., and Shikhali, M. (2021). A Silver Lining of Coronavirus: Jordanian Universities Turn to Distance Education. International Journal of Information and Communication Technology Education (IJICTE), 17(2), pp.1-11.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Louwrens, N., & Hartnett, M. (2015). Student and teacher perceptions of online student

engagement in an online middle school. Journal of Open, Flexible, and Distance Learning, 19(1), pp.27-44.

Mahyoob, M. (2020). Challenges of e-Learning during the COVID-19 pandemic experienced by EFL learners. Arab World English Journal (AWEJ), 11(4), pp.351-362.