การพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติสำหรับโรงเพาะเห็ดฟาง บนพื้นฐานของอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง

Main Article Content

พิทักษ์ คล้ายชม
อภิศักดิ์ พรหมฝาย
ไพโรจน์ นะเที่ยง
นุภากร พร้อมมูล
วัชรินทร์ วัฒนเชษฐ์
ณัฏฐพล พิศพันธุ์

บทคัดย่อ

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ในปัจจุบันเกษตรกรพบปัญหาในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของโรงเรือน เช่น อุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ดอกเห็ดบานเร็วและมีดอกเห็ดน้อย งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติสำหรับโรงเพาะเห็ดฟางบนพื้นฐานของอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ อ่านค่าจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นของโรงเรือน แล้วทำการประมวลผลด้วยตัวควบคุมแบบเปิดตาราง เพื่อสั่งงานพัดลมและปั๊มน้ำสเปรย์หมอก เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนให้มีค่าตามที่กำหนด โดยสามารถแสดงผลและควบคุมการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือได้ด้วย ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพระบบควบคุม พบว่าค่าความผิดพลาดในการควบคุมอุณหภูมิน้อยกว่าระบบที่ใช้คนควบคุม โดยเฉลี่ย 0.8% และค่าความผิดพลาดในการควบคุมความชื้นน้อยกว่าระบบที่ใช้คนควบคุมโดยเฉลี่ย 2.16% ผลผลิตมากขึ้นกว่าระบบเพาะเห็ดเดิม 10 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,000 บาท หักค่าแรงงาน 1,250 บาท ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นต่อรอบการผลิตจากระบบเพาะเห็ดเดิม เป็นเงิน 2,250 บาท ใช้เวลาคุ้มทุน 10 รอบการผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2545). เทคนิคการเพาะเห็ดฟาง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ธำรงศีล พันธ์ทอน และปกรณ์ มีคุณ. (2557). เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเห็ดระบบปิด (รายงานวิจัย). สระบุรี: วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี.

ธีรยศ เวียงทอง และประยูร จวงจันทร์. (2554). ระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนแบบปิด(รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ฟาร์มเห็ดฟางคุณชายคม. (2559). ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2559, จาก https://khunchaikhom-mushrooms.com

ศศิรินทร์ อธิมา, โชค มิเกล็ด, กรวรรณ ศรีงาม, และสุลิตา กันทะอุโมงค์. (2555). การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ(รายงานวิจัย). เชียงใหม่: ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภวุฒิ ผากา, สันติ วงศ์ใหญ่, และอดิสร ถมยา. (2557). การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดในโรงเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง (รายงานวิจัย). ลำปาง: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร. (2555). คู่มือการเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สราวธุ ธีวีระปัญญา, วาสนา ศิริพรทุม, ณัฐพสิษฐ์ เถระรัชชานนท์, และสุนทร รัชฎาวงษ์. (2553). ผลของการใช้วัสดุจากฟางข้าว ขี้เลื่อย ปอเทือง และถั่วเขียวผิวมัน เพื่อการเพิ่มผลผลิตของเห็ดฟาง (รายงานวิจัย). เพชรบูรณ์: สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์.

สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2564). การเพราะเห็ดฟางกองเตี้ย. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564, จาก https://sm.mju.ac.th/1.News/ฟางกองเตี้ย.pdf

สุธากร แทบศรี. (2555). ระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ โรงเรือนเพาะเห็ดแบบปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อริยา รอดจำนง. (2560). การเพาะเห็ดฟาง. [สัมภาษณ์]. เมื่อ 16 มกราคม 2560.