การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์เสาเข็มรับแรงด้านข้างในชั้นดินเหนียวอัดตัว เกินปกติด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน: กรณีศึกษาเสาเข็มรับกำแพงกันดิน คอนกรีตเสริมเหล็กชนิดยื่นรูปตัว T

Main Article Content

เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง

บทคัดย่อ

การออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดยื่นรูปตัว T ในพื้นที่ที่ดินมีกำลังรับแรงแบกทานไม่เพียงพอ จำเป็นต้องออกแบบให้วางอยู่บนเสาเข็ม ซึ่งต้องคำนึงถึงทั้งการรับน้ำหนักในแนวแกนและการรับแรงด้านข้างของเสาเข็มด้วย งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงด้านข้างที่ยอมให้และโมเมนต์ดัดประลัยในเสาเข็มรับแรงด้านข้างในชั้นดินเหนียวอัดตัวเกินปกติ ด้วยวิธีวิเคราะห์แบบต่างๆ ที่ใช้สัมประสิทธิ์การต้านแรงกดของดิน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์แรงด้านข้างที่ยอมให้ในเสาเข็มด้วยวิธีการของ Brom วิธีการของ Davisson and Gil และวิธีผลต่างสืบเนื่อง FDM ให้ผลการวิเคราะห์ใกล้เคียงกันต่างกันไม่เกินร้อยละ 3.85 ทั้งนี้เป็นเพราะการวิเคราะห์ด้วยวิธีการของ Brom และวิธีการของ Davisson and Gil ซึ่งได้เลือกใช้พารามิเตอร์ในการวิเคราะห์ที่เหมาะสมใช้ค่า kh บริเวณด้านบนของเสาเข็มที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์เสาเข็มรับแรงด้านข้างมากกว่าดินที่อยู่ลึกลงไป จึงให้ผลการวิเคราะห์ที่ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ FDM ที่ใช้ค่า kh ที่แตกต่างกันตลอดความลึกของเสาเข็ม สำหรับผลการวิเคราะห์โมเมนต์ดัดประลัยสูงสุดจากแรงทางข้างประลัยด้วยวิธี Davisson and Gil และวิธี FDM ให้ผลที่ใกล้เคียงกัน ต่างกันไม่เกินร้อยละ 9.4 นอกจากนี้งานวิจัยยังได้นำผลการวิเคราะห์แรงอัดประลัยและโมเมนต์ดัดประลัยไปใช้ออกแบบเหล็กเสริมในเสาเข็มคอนกรีตรับแรงด้านข้างที่มีกำลังต้านทานแรงประลัยของหน้าตัดปลอดภัยเพียงพอ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ACI318

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการและผังเมือง. (2565). การเจาะสำรวจดิน. สืบค้น 1 มกราคม 2565, จาก http://soilgis.dpt.go.th/login.php

พัลลภ วิสุทธิ์เมธากุล. (2563). คู่มือวิศวกรรมฐานราก (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วินิต ช่อวิเชียร, และวรนิติ ช่อวิเชียร. (2560). การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ: ป.สัมพันธ์พาณิชย์.

สมพร อรรถเศรณีวงศ์. (2561). เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ ครั้งที่ 20 MicroFEAP 6.2 กับตัวอย่างงานโครงสร้างชุดที่ 3. กรุงเทพฯ: ม.ปท.

สิรัญญา ทองชาติ, และวรากร ไม้เรียง. (2563). การออกแบบฐานราก (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สำนักพิมพ์กิตติวรรณการพิมพ์.

อมร พิมานมาศ. (2556). การวิเคราะห์และการออกแบบโครงสร้างด้วยโปรแกรม ETABS เล่ม 1 และ 2. กรุงเทพฯ: ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์แอนด์เทรนนิ่ง.

อมร พิมานมาศ. (2558). การออกแบบแก้ไขฐานราก ฐานรากรับแรงด้านข้างและฐานรากรับเครื่องจักร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์แอนด์เทรนนิ่ง.

American Society of Civil Engineers. (2016). Minimum Design Loads for Buildings and Other Structures (ASCE7-10/16). VA: American Society of Civil Engineers.

ASDIP Structural Software. (2022). ASDIP Retain Structural Engineering Software Version 5.4.0.1. FL: ASDIP Structural Software.

Bengt B. Broms. (1964). Lateral Resistance of Piles in Cohesive Soils. Journal of Soil Mechanical and Foundations Division, 90(2), 27-64.

Braja M. Das. (2004). Principle of Foundation Engineering (5th ed.). CA: Thomson Learning.

International Code Council. (2018). International Building Code 2018 (IBC2018). IL: International Code Council, Inc.

Shamsher, P. and Hari, D. S. (1990). Pile Foundations in Engineering Practice. New York: John Wiley & Sons.