การพัฒนาเครื่องเตือนภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลแบบฝังตัวเพื่อให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

Main Article Content

สิปราง เจริญผล
รัชนี ลือดารา
นวลนภา จุลสิทธิ
ธเนศ คณะดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการสร้างเครื่องเตือนแผ่นดินไหวที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลแบบฝังตัวและส่งข้อมูลการแจ้งเตือนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตระยะทางไกลด้วยเทคโนโลยี LORA โดยเครื่องมือนี้ประกอบด้วย เซนเซอร์ที่ทำการวัดมุมเอียง เซนเซอร์วัดการสั่นสะเทือน วงจรไมโครคอนโทรเลอร์ และวงจรไมโครคอมพิวเตอร์แบบสมองกลฝังตัว สำหรับการคำนวณจะใช้เทคนิคการประมาณค่าที่เปลี่ยนแปลงของมุมโดยใช้สมการถดถอย จะสามารถบอกได้ว่าเมื่อมีค่าความแรงของขนาดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นมุมที่เปลี่ยนแปลงไปของเซนเซอร์วัดมุม จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นตาม ดังนั้นเมื่อทดสอบจะทดสอบความแรงของแผ่นดินไหวจำนวน 6 ค่า คือ 1 ริกเตอร์ 2 ริกเตอร์ 3 ริกเตอร์ 4 ริกเตอร์ 5 ริกเตอร์ และ 6 ริกเตอร์ ตามลำดับ จากการทดลองสามารถบอกได้ว่าเมื่อมีค่าความแรงของขนาดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นมุมที่เปลี่ยนแปลงไปของเซนเซอร์วัดมุม จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามและมีระยะทางไกลจากการแจ้งเตือนในระยะ 2 กิโลเมตร จากตัวเซนเซอร์และสามารถแสดงการแจ้งเตือนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตระยะทางไกล ผลจากการทดลองเครื่องเตือนแผ่นดินไหวที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลแบบฝังตัวที่คณะผู้วิจัยนำเสนอมีความถูกต้องอยู่ที่ระดับที่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จากความแม่นยำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สิปราง เจริญผล, รัชนี ลือดารา, นวลนภา จุลสิทธิ, และธเนศ คณะดี. (2562). การออกแบบและสร้าง อิเล็กทรอนิกส์เซ็นเซอร์การตรวจจับแผ่นดินไหวโดยใช้ระบบสมองกลแบบฝังตัวส่งข้อมูลผ่านการ สื่อสารไร้สายกำลังต่ำ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “เทคโนโลยีภาคใต้วิจัย” ครั้งที่ 9 ประจำปี การศึกษา 2561. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

อนวัช สรรพศรี (2012), เอาชีวิตรอดจากสึนามิ สิ่งที่ ควรรู้ก่อนภัยมาถึง, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, 250 หน้า.

อนวัช สรรพศรี (2010), การประเมินความเสี่ยงสึนามิต่อประชากรและอาคารริม ฝั่งทะเลในประเทศไทย, ดุษฎีนิพนธ์มหาวิทยาลัยโทโฮคุ, 260 หน้า. (ภาษาอังกฤษ).

Ding, X., Wang, X. Q., Dou, A. X., and Wang, L. (2009). Study on a practical earthquake damage analysis and processing system based on RS and GIS. 2009 IEEE International Geoscience and Remote Sensing Symposium. Cape Town, South Africa.

Shen, H. Y., and Li, Q. C. (2010). A new method of seismic wavefield separation and denoising. 2010 2nd International conference on advanced computer contro. (pp. 107-110). Shenyang, China.

Sherki, Y., Gaikwad, N., Chandle, J., Kulkarni, A. (2015). Design of real time sensor system for detection and processing of seismic waves for earthquake early warning system. 2015 International Conference on Power and Advanced Control Engineering (285-289). Bangalore, India.