ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมในเขตภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อุตสาหกรรมในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมในเขตภาคเหนือ จํานวน 531 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูล
โดยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ําสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.06 ปีจบระดับชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์การเลี้ยงไหมเฉลี่ย 12.76 ปีมีพื้นที่การปลูกหม่อนเฉลี่ยจํานวน 8.85 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกหม่อนพันธุ์สกลนคร มีต้นทุนการปลูกหม่อนเฉลี่ย 3,581.94 บาทต่อไร่ มีต้นทุนการเลี้ยงไหมเฉลี่ย 1,839.52 บาทต่อกล่อง มีรายได้จากการขายรังไหมเฉลี่ย 102,589.35 บาทต่อปี โดยมีการเลี้ยงไหมเฉลี่ยจํานวน 7.08 รุ่นต่อปี และมีปริมาณการเลี้ยงไหมเฉลี่ยจํานวน 14.3 กล่องต่อปี เกษตรกรมีคะแนนการปฏิบัติที่ดีจํานวน 12.70 คะแนน อยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรได้รับข่าวสารในระดับน้อย การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสําเร็จในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุต้นหม่อน ขนาดของพื้นที่ที่ปลูกหม่อน จํานวนแรงงานในการเลี้ยงไหม ต้นทุนการดูแลแปลงหม่อน จํานวน รุ่นในการเลี้ยงไหมในรอบปีการปฏิบัติที่ดีสําหรับการผลิตรังไหมที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก ปัญหาและอุปสรรค เกษตรกรมีปัญหาเรื่องฝนแล้งในระดับมาก รองลงมาพบว่าปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ปัญหาแมลงศัตรูหม่อนในระดับปานกลาง สําหรับข้อเสนอแนะของเกษตรคือ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลให้มากขึ้น คุณภาพของผลผลิตที่ดีจําหน่ายได้ราคาสูง พื้นที่มีน้ำเพียงพอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศุลกากร. (2561). รายงานสถิตินําเข้า-ส่งออก. สืบค้นจาก http://www.customs.go.th/statistic_report.php?show_search=1
กรมหม่อนไหม. (2560). รายงานประจําปี 2560 กรมหม่อนไหม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมฯ.
จิราพร ตยุติวุฒิกุล. (2544). การผลิตหม่อนไหม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชญานิศวร์มาไพศาลสิน. (2556). การจัดการการผลิตและการตลาดรังไหมอุตสาหกรรม: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรบ้านนาแพง ตําบลเขาน้อย อําเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธานินทร์ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส อาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นิชานันท์คงทวีและประภัสสร เกียรติสุรนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร, 44(4). 631-638.
พุทธพร วิวาจารย์, สิทธิชัย บุญมั่น, ศุภกฤต จันทรวิชญ์, ชลธิรา แสงศิริและธนพร ขจรผล. (2558). อิทธิพลของลักษณะทางเศรษฐกิจต่อผลผลิตใบหม่อนของหม่อนเลี้ยงไหม (silkworm mulberry; Morus spp.) จากประเทศจีน. แก่นเกษตร, 43(ฉบับพิเศษ 1). 780-783.
บุญก์ณิสา มาคง และพงศ์พันธุ์เธียรหิรัญ. (2556). การจัดการการผลิตไหมของเกษตรกรเพื่อพัฒนาการผลิตไหม. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 3 (O-ST 090). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญสม วราเอกศิริ. (2535). ส่งเสริมการเกษตร : หลักและวิธีการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ. (2560). รายงานประจําปี 2560 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เขต 1 จังหวัดแพร่. แพร่: กรมหม่อนไหม.
สุชาติประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: หจก. สามลดา.
Ghafoor, A., Hussain, M., Naseer, K., Ishaque, M., and Baloch, M. H. (2010). Factors Affecting Income and Saving of Small Farming Households in Sargodha District of The Punjab, Pakistan. Pak. J. Agri., Agril. Engg., Vet. Sci., 26(2), 27-35.
Ibekwe, U. C. (2010). Determinants of Income Among Farm Households in Orlu Agricultural Zone of Imo State, Nigeria. Report and opinion, 2(8), 32-35. Retrieved from http://www.sciencepub.net/report/report0208/06_3606report0208_32_35.pdf
Peris, N. W., Gacheri, K. M., Theophillus, M. M., and Lucas, N. (2014). Morphological characterization of Mulberry (Morus spp.) accessions grown in Kenya. Sustainable Agriculture Research. 3(1), 10-17.
Prakash, B. G., Halaswamy K. M., and Guled, M. B. (2004). Performance of mulberry varieties and correlation among leaf yield and its components under dryland situation at Bijapur. Karnataka J. Agri. Sci., 17(3), 562-565.
Vijayan, K., Doss, S. G., Chackraborti, S. P., Ghosh, P. D., and Saratchandra, B. (2010). Character association in mulberry under different magnitude of salinity stress. Emir. J. Food Agric, 22(4), 318-325.