การจัดเส้นทางให้บริการรถขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Main Article Content

สุกฤษฏิ์ เพชรสวัสดิ์
สัจจากาจ จอมโนนเขวา
วชิระ วิจิตรพงษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทําการจัดเส้นทางเดินรถให้บริการขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) เพื่อที่จะยกระดับระบบการขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และสามารถที่จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสาธารณะให้กับมหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์หลักคือ การหาเส้นทางที่สั้นที่สุดที่ใช้ในการให้บริการรถขนส่งสาธารณะใน 13 จุดสถานีที่สําคัญและหาจํานวนรถขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม โดยการสํารวจและเก็บข้อมูลสถานที่ที่เหมาะสมที่จะเป็นสถานีรถ วิเคราะห์ผล แล้วนําโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้การวางแผนการจัดเส้นทางเดินรถและหาจํานวนรถขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วในการวิเคราะห์ผลมากขึ้น
ผลการศึกษาสรุปว่า รถบริการขนส่งสาธารณะเริ่มวิ่งให้บริการเริ่มต้นที่บริเวณหน้าตึกคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จุดที่สองคือบริเวณทางเข้าสนามฟุตบอลพระองค์ดํา จุดที่สามบริเวณทางเข้าตึกคณะวิทยาการจัดการ จุดที่สี่ระหว่างตึกกองพัฒนานักศึกษาและหอประชุมศรีวชิรโชติจุดที่ห้าระหว่างตึกทีปวิชญ์และหอสมุด E-Library จุดที่หกระหว่างตึก IT และตึกนิติศาสตร์ใหม่ จุดที่เจ็ดระหว่างตึกมหาวชิราลงกรณ (ตึก ม) และตึกเฉลิมพระเกียรติ (ตึก ฉ) จุดที่แปดหน้าตึกคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร จุดที่เก้าหน้าโรงยิมทะเลแก้ว (2) จุดที่สิบระหว่างหอพักนักศึกษาหญิงและศูนย์อาหารทะเลแก้ว จุดที่สิบเอ็ดหน้าตึกคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจุดที่สิบสองตึกศึกษาพิเศษ จุดที่สิบสามหน้าหอพักอาจารย์ใหม่ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของเส้นทาง รวมระยะทางเท่ากับ 5.04 กิโลเมตร และใช้รถขนส่งสาธารณะที่ให้บริการรับ-ส่งนักศึกษา จํานวน 2 คัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุมา อัชกุล. (2541). สถิติเชิงคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โฉมภู่ บึงพร้าว และสุรีพร ยอดมณี. (2547). ปัญหาการจดมาตรน้ําโดยวิธีการเดินทางของเซลส์แมน กรณีศึกษาการประปาส่วนภูมิภาคปราจีนบุรี(รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปานวิทย์ธุวะนุติ. (2558). ทฤษฎีแถวคอย. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการจัดการและการออกแบบระบบโทรคมนาคม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปุณยนุช ชัยเจริญธาดา, อนันต์มุ่งวัฒนา และศักเกษม สุจินตนารัตน์. (2554). ปัญหาการจัดเส้นทางเมื่อมีข้อจํากัดด้านเชื้อเพลิง. ใน การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดําเนินงานแห่งชาติประจําปี 2554. (น. 269-272). กรุงเทพฯ: โรงแรม เอส ดีอเวนิว.

พัชรลักษณ์รักธรรมจิรสุข. (2557). การศึกษาภาพแบบการจัดเส้นทางเพื่อทําการวางแผนการเดินทางของพนักงานขาย. ใน การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติครั้งที่ 7. (น. 185-192). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ.

ไพฑูรย์ศิริโอฬาร. (2557). การลดต้นทุนการขนส่ง โดยการจัดเส้นทางพาหนะที่เหมาะสม กรณีศึกษาธุรกิจเครื่องดื่มชานม. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(ฉบับพิเศษ), 272-279.

รุ่งรัตน์ภิสัชเพ็ญ. (2553). คู่มือแบบจําลองด้วยโปรแกรม Arena ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิธร ห่อประภัทรพงศ์. (2552). การวิเคราะห์ระยะทางและระยะเวลาของระบบขนส่งในการเลือกเติมสถานีแก๊ส NGV ให้มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภาภรณ์ พวงชมภู. (2554). การประยุกต์ใช้โปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Fischetti, M., Salazar, J., Toth, P. (1995). The symmetric generalized traveling salesman problem polytope. Networks, 26(2), 113-123.

Fischetti, M., Salazar, J., Toth, P. (1997). A branch-and-cut algorithm for the symmetric generalized traveling salesman problem. Operations Research, 45(3), 378-394.

Laporte, G., Nobert, Y. (1983). Generalized traveling salesman problem through n sets of nodes: an integer programming approach. INFOR, 21(1), 61-75.

Noon, C. (1988). The generalized traveling salesman problem. (PhD Dissertation). Ann Arbor: The University of Michigan.