การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLTV EDLTV สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนโรงเรียนยอดโพธิ์ทอง 1 จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นพันธกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา จากการสำรวจความต้องการรับบริการวิชาการกับผู้บริหารโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พบว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง 1 เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมจำนวน 60 คน มีครูและผู้บริหารรวม 7 คน ซึ่งครบตามชั้นเรียนที่เปิดสอน นอกจากนั้นโรงเรียนยังประสบกับปัญหาการจัดการศึกษาอย่างอื่นอีกหลายประการ โดยในเบื้องต้นนี้ทางโรงเรียนมีความประสงค์จะพัฒนาทักษะการสอนด้วยระบบโทรทัศน์ทางไกล DLTV กับครูและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ EDLTV สำหรับสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLTV EDLTV สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง 1 และพัฒนาให้ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการทำกิจกรรมบริการวิชาการร่วมกับชุมชนและสถานศึกษาในท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมทักษะการสอนด้วย DLTV กับครู ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง 1 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2560 กิจกรรมที่ 2 การอบรมทักษะการสอนด้วย EDLTV กับครู วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2560 กิจกรรมที่ 3 จะทำแหล่งเรียนรู้ DLTV/ EDLTV ปรับปรุงคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำหรับบริการครูในการจัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ติดตั้งป้ายนิเทศให้ความรู้มุม EDLTV สำหรับครูและนักเรียน ครูร้อยละ 90 ได้รับความรู้จากการอบรม ตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้จากการอบรม ได้แหล่งเรียนรู้ในการ บูรณาการการจัดการเรียนรู้ DLTV และ EDLTV ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการสอนด้วยระบบโทรทัศน์ทางไกล DLTV กับครู และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ EDLTV สำหรับสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง 1 ในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวิทยากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 รองลงมาคือ ด้านการนำไปประยุกต์ใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และด้านบริการคุมการ/กระบวนการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โชติมาพร ไชยสิทธิ์. (2555). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สอนอย่างไรให้เกิดผลกับผู้เรียน: วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2551). เทคโนโลยีทางการศึกษา ทฤษฎี และการวิจัย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
วัฒนา ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอล ที เพลส.
Inprasitha, M., Pattanajak, A. & Tesarin, P. (2007). Context Preparation for Application in Japanese Teaching Professional Development called “Lesson Study,” in Thailand. Proceedings of The First National Academic Conference in Japanese Study Network. Bangkok: Sangseau Co. Ltd.
Rogers, E. M., and Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovation A Cross-Cultural Approach. (2nd ed). NY: The Free Press.