การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์โดยใช้รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง รายวิชากับตำแหน่งงานทางด้านไอทีเพื่อขับเคลื่อนระบบอัจฉริยะทางด้านงานทรัพยากรบุคคล

ผู้แต่ง

  • ลวัณกร มุกดาสนิท Rajamangala university of technology Suvarnabhumi

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที นั้นสามารถช่วยเพิ่มการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพแบบก้าวกระโดด (หรือที่เรียกว่า ยูนิคอร์น) โดยมีการดำเนินงานแบบดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อบริการให้กับลูกค้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งงานทางด้านไอทีนั้น ยังคงมีความต้องการในตลาดแรงงาน เช่น ๑) นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ๒) นักวิเคราะห์ระบบ ๓) นักออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้ ๔) ผู้จัดการโครงการ ๕) นักทดสอบซอฟต์แวร์ ๖) นักวิทยาการข้อมูล ๗) วิศวกรระบบเครือข่าย และ ๘) นักทดสอบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ถ้าค้นข้อมูลระบบรับสมัครงานออนไลน์ชื่อดัง เช่น
จ็อบท็อปกัน และจ็อบส์ดีบี อย่างไรก็ตาม นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ยังขาดประสบการณ์ทำให้ไม่สามารถเลือกตำแหน่งงานทางไอทีที่เหมาะสมกับทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ของพวกเขาได้ บทความฉบับนี้สร้างสูตรหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของรายวิชากับตำแหน่งงานทางด้านไอทีในรูปแบบกฎเกณฑ์ เสมือนเป็น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ โดยที่รายวิชาทางด้านไอทีที่นำมาใช้ในการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์นั้น ประกอบด้วย ๑) การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ๒) การเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ ๓) โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม ๔) วงจรดิจิทัล ๕) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ๖) การพัฒนาซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่กับเว็บไซต์ ๗) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ๘) การจัดการโครงการ ๙) การทดสอบซอฟต์แวร์ ๑๐) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ๑๑) การพัฒนาเกมส์ ๑๒) เหมืองข้อมูล ๑๓) การเรียนรู้ของจักรกล ๑๔) ฐานข้อมูลกับข้อมูลขนาดใหญ่ ๑๕) การประมวลผลบนกลุ่มเมฆกับระบบปฏิบัติการ ๑๖) สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ๑๗) คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ ๑๘) ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ ๑๙) ระบบสมองกลฝังตัว และ ๒๐) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้เป็นเสมือน “ระบบอัจฉริยะทางด้านงานทรัพยากรบุคคล” สำหรับเลือกตำแหน่งงานทางด้านไอที ตามทักษะคอมพิวเตอร์ที่ตนเองถนัดได้อย่างเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-28

How to Cite

[1]
มุกดาสนิท ล., “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์โดยใช้รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง รายวิชากับตำแหน่งงานทางด้านไอทีเพื่อขับเคลื่อนระบบอัจฉริยะทางด้านงานทรัพยากรบุคคล”, JSciTech, ปี 4, ฉบับที่ 2, ก.พ. 2023.