ระบบขนส่งทางรางคู่ขนานทางน้ำของโครงการคลองไทย

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษณ์ เคลือบวัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • สวัสดิ์ ยุคะลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

คลองไทย, ระบบขนส่งทางราง และศูนย์ตู้คอนเทนเนอร์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้นำเสนอผลการจำลองด้านเทคนิคของระบบรถไฟฟ้า ที่ออกแบบตามเส้นทางคู่ขนานกับ โครงการคลองไทยที่เป็นแนวคิดก าลังถูกพูดถึงอีกครั้งอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ สมมติฐานหลักและเป็นข้อตกลง เบื้องต้นของการศึกษานี้ คือ การเชื่อว่าโครงการคลองได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นจริง จึงคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะมีการ หลั่งไหลเข้ามาของคนจำนวนมาก รอบ ๆ คลองที่จะสร้างขึ้นนี้ ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย เช่น การทำงาน การท่องเที่ยว การเดินทาง การพักอาศัย และอื่น ๆ ระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมอย่างระบบรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนกลุ่มดังกล่าว ตามแนวคลองไทย 9A การจำลองการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้าดำเนินการกับรถไฟ 2 ชนิด คือ รถไฟฟ้าสายเมือง กับ รถไฟฟ้าสายด่วน ผลการจำลองพบว่า รถไฟฟ้าสายเมืองที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำกว่าจะใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการขับเคลื่อนมากกว่าและใช้เวลาการเดินทางจาก ต้นทางถึงปลายทางที่มากกว่ารถไฟฟ้าสายด่วน ทั้งนี้เนื่องจากมีจำนวนสถานีผู้โดยสารที่ต้องจอดมากกว่าตามเจตนารมย์ของการออกแบบรถไฟฟ้าสายเมือง เพื่อเชื่อมศูนย์คอนเทนเนอร์ของทั้งสองฝั่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก

References

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. ปลุกผีขุดคลองไทย 9A ตัดผ่าน 5 จังหวัด, 2560. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or. th/content/262482

Jagan Jeevan, Nurul Haqimin Mohd Salleh and Mohamad Rosni Othman. Thai canal and Malacca straits: complementing or competing stratagem for trade development in South East Asia. Journal of Sustainable Development of Transport and Logistics, 2018, 3(2), pp.34-48.

บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จ ากัด. ระบบงานรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์, 2559. สืบค้นจาก https://www.srtet.co.th/index.php/th/system-airport-expressline

ธนัดชัย กุลวรวานิชพงษ์. ระบบจ่ายไฟฟ้าสำหรับรถไฟ. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2561.

ณัฐพงษ์ มิ่งพฤกษ์, ทศพล รัตน์นิยมชัย และ ธนัดชัย กุลวรวานิชพงษ์. การศึกษาความไม่สมดุลแรงดันไฟฟ้าของระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 2560, 28(4), หน้า 25-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30

How to Cite

[1]
เคลือบวัง จ. และ ยุคะลัง ส., “ระบบขนส่งทางรางคู่ขนานทางน้ำของโครงการคลองไทย”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 41–47, ก.ย. 2021.