การศึกษาโรคภูมิแพ้อากาศจากฝุ่นละออง PM10 กรณีศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • พิชิตพร ผลเกิดดี คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รสสุคนธ งาเกษม คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กฤษดา มะหะมาน คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โรคภูมิแพ้อากาศ, ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน, การวิเคราะห์อนุกรมเวลา, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของฝุ่นละออง PM10 เพื่อศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้อากาศจากฝุ่นละออง PM10 และเพื่อศึกษาแนวโน้มการเกิดโรคภูมิแพ้อากาศจากฝุ่นละออง PM10 ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใช้ข้อมูลสถิติย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2557-2561) โดยใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ ในการประมาณค่าช่วง ด้วยวิธี Inverse Distance Weighted ใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เพื่อศึกษาการกระจายตัวของฝุ่นละออง PM10 จากนั้นทำการศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้จากฝุ่นละออง PM10 โดยศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่นการกระจายตัวของฝุ่นละออง และทำการวิเคราะห์อนุกรมเวลา แสดงกราฟ ให้เห็นแนวโน้มในการเกิดโรคภูมิแพ้อากาศในปี พ.ศ. 2562

ผลการวิจัยพบว่าการกระจายตัวของฝุ่นละออง PM10 กระจายตัวในบริเวณจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยองมากกว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนการศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้จากฝุ่นละออง PM10 พบว่าแหล่ง ก่อเกิดฝุ่นละออง มีทั้งหมด 31 แห่ง คือโรงงานอุตสาหกรรม 28 แห่ง โรงโม่หิน 3 แห่ง และมีถนนทางหลักที่ใช้ใน การคมนาคม โดยจังหวัดฉะเชิงเทรามี 15 สาย จังหวัดชลบุรีมี 14 สาย และจังหวัดระยองมี 7 สาย และการศึกษา แนวโน้มการเกิดโรคภูมิแพ้อากาศจากฝุ่นละออง PM10 ใช้สถิติย้อนหลังรายเดือน 5 ปี ในการวิเคราะห์ด้วย Model Winters’ multiplicative พบว่าค่า MAPE เท่ากับ 0.829 ซึ่งค่าน้อยกว่าร้อยละ 30 ยอมรับได้ และมีค่านัยสำคัญ เท่ากับ 0.719 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.05 เกิดขึ้นแบบไม่ธรรมชาติ โดยมีอัตราแนวโน้มของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศจากฝุ่น ละออง PM10 ในปี พ.ศ.2562 มีอัตราลดลง เท่ากับ 5,071 ราย

References

Amwaytoday. ฝุ่นละออง สารพิษ และอนุภาค ที่ก่อให้เกิดภัยร้ายต่อสุขภาพมนุษย์, 2558 สืบค้นจาก http://www.amwaytodaythai.com/product/atmosphere/atmosphere-drive-SPM.html

สมานชัย เลิศกมลวิทย์. การหาปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5, PM10-2.5, PM10) และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นในบรรยากาศ ภายในอาคารและฝุ่นที่บุคคลได้รับผลกระทบ. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สภาวะแว้ดล้อม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

สิทธิชัย พิมลศรี และภวัต อารินทร์. สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศและผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในจังหวัดล าปาง. ส านักวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2553.

วิลี สัมฤทธิ์วัชฌาสัย. ความชุกและความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ในเด็กไทยในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะแพทย์ศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

จิตรีพร อุทโท และคณะ. ศึกษาการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 และ 10 ไมครอน บริเวณชุมชนมะขามแถว อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนสุนันทา, 2552.

สัญญา กีรติวาสี. สภาวะฝุ่นละอองจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์. สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543.

ระวิวรรณ ขันธาโรจน์. สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540.

สิทธิชัย พิมลศรี และ ภวัต อารินทร์. สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศและผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในจังหวัดลำปาง. สำนักวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30

How to Cite

[1]
ผลเกิดดี พ., งาเกษม ร., และ มะหะมาน ก., “การศึกษาโรคภูมิแพ้อากาศจากฝุ่นละออง PM10 กรณีศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 23–32, ก.ย. 2021.